Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลการรักษาและหาสาเหตุที่ผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (ทีเอ็มดี) ยุติการรักษา วัสดุและวิธีการ ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ส่งไปยังผู้ป่วยที่เอ็มดีที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ยุติการรักษาไป 316 คน ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจํานวน 77 คน (อัตราการตอบกลับร้อยละ 24.3) เป็นชาย 17 คน (ร้อยละ 22.1) หญิง 60 คน (ร้อยละ 77.9) โดยกลุ่มนี้มี 58 คน (ร้อยละ 75.3) เป็นผู้มารับการรักษาด้วย อาการมากกว่าหนึ่งอย่าง และมีเสียงข้อต่อขากรรไกรขณะอ้า-หุบปากเป็นอาการสําคัญอันดับแรกที่ต้องการ รักษา (ร้อยละ 31.1) ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาเชิงอนุรักษ์โดยใช้เฝือกสบฟันเป็นหลัก พบว่า 1. หลังจากยุติการ รักษา ผู้ป่วยยังมีอาการอยู่ 55 คน (ร้อยละ 71.4) โดยอาการที่ยังคงมีไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากก่อน รักษา ยกเว้นอาการอ้าปากจํากัด (p = 0.013) มีผู้ที่ต้องการรักษาต่อ 43 คน (ร้อยละ 78.2) และผู้ที่ไม่ต้องการ รักษาต่อ 12 คน (ร้อยละ 21.8) 2. เหตุผลที่ทําให้ผู้ป่วยยุติการรักษาไปมีดังนี้ รู้สึกทนอาการที่มีอยู่ได้ (ร้อยละ 37.7) คิดว่าอาการนั้นรักษาไม่หาย (ร้อยละ 32.5) ไม่สะดวกมารับการรักษาในเวลาราชการ (ร้อยละ 31.2) ไม่สะดวกในการเดินทาง (ร้อยละ 26.0) ไม่ได้รับการติดต่อ (ร้อยละ 20.8) และอื่น ๆ สรุป การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่เอ็มดีอาจยังมีอาการอยู่ภายหลังยุติการรักษาไป และมีเหตุผลหลายประการ ที่เป็นสาเหตุของการยุติการรักษา (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:117-28)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.3
First Page
117
Last Page
128
Recommended Citation
มุทิรางกูร, วันทนี; หอมจันทร์จีรัง, ประภาพร; and พรรคอนันต์, สัจจพร
(2007)
"การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ที่ยุติการรักษา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss2/3