Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนคําจํากัดความของโพรไบโอติกส์ และคําจํากัดความของจุลินทรีย์ที่จัดว่าเป็นโพรไบโอติกส์ ที่มาของข้อมูล ค้นหาจากการทดลองทางคลินิก และงานวิเคราะห์ผลงานย้อนหลังที่เกี่ยวกับโรคเด็กที่ใช้ โพรไบโอติกส์ รวมทั้งบทความปริทัศน์ที่เกี่ยวกับโรคเด็กที่ใช้โพรไบโอติกส์ สรุปงานที่ค้นคว้า วารสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องโพรไบโอติกส์เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา มีการค้นหากลไกการทํางานของมันจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโพรไบโอติกส์สามารถแข่งกันเพื่อความอยู่รอด กับจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคได้ สามารถทําให้สภาพแวดล้อมในลําไส้มีความเป็นกรดที่เกิดจากผลิตผลที่มันผลิตออกมา สามารถเผชิญและปรับการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันและการอักเสบทั้งที่เป็นตําแหน่งเฉพาะที่กับที่เป็น ทั้งระบบได้ จากการศึกษาทางคลินิก และการศึกษาผลงานวิจัยย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่า โพรไบโอติกส์ช่วยป้องกัน โรคท้องร่วงอย่างรุนแรง และโรคท้องร่วงที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ และยังลดอุบัติการณ์ของการเกิดผิวหนัง อักเสบเหตุภูมิแพ้ได้ สรุป คําว่าโพรไบโอติกส์มีการนํามาใช้กับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 โดยจัดให้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต ที่ให้เสริมเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยการไปทําให้ความสมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันมีความ จําเป็นที่ว่า คําจํากัดความของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบัน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนต่อไป เพื่อจะได้ช่วยให้สามารถ เลือกโพรไบโอติกส์ในแต่ละสถานะการณ์ในการป้องกันและรักษาโรคในทางคลินิกได้อย่างถูกต้อง สําหรับการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของโพรไบโอติกส์ทางด้านสุขอนามัยช่องปาก มีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับโพรไบโอติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ดังเช่นเรื่องโพรไบโอติกส์ที่เกี่ยวกับกลิ่นปาก และที่เกี่ยวกับเรื่องฟันผุเป็นต้นบทความนี้อาจจุดประกายให้มีการศึกษาเกี่ยวกับแง่มุมทางด้านนี้มากขึ้นในอนาคต (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:205-18)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.10
First Page
205
Last Page
218
Recommended Citation
คูวัฒนสุชาติ, จินตกร
(2007)
"โพรไบโอติกส์คืออะไร?,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
2, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss2/10