Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2007-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อดําเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักการสุขภาพองค์รวมและการมีส่วนร่วมของ ชุมชน และเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการและการประเมินผลโครงการในขั้นตอนต่าง ๆ วิธีการ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาหนึ่งปีในโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก ดําเนินโครงการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมความพร้อม สํารวจปัญหา ดําเนินการ (ประกอบด้วย ขั้นปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ประเมิน ผลลัพธ์ของงานสร้างเสริมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางสุขภาพระดับกลาง) และสรุป การเก็บข้อมูลและการประเมินผล ใช้วิธีการเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ โดยใช้แบบบันทึก การสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และวิเคราะห์โภชนาการ ของเด็ก (สารอาหาร กลุ่มอาหาร และน้ําตาล) เปรียบเทียบก่อนและหลังดําเนินโครงการ ผลการศึกษา เด็กส่วนใหญ่มีฟันผุ ด้อยพัฒนาการเจริญเติบโต แปรงฟันด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม โภชนาการของ โรงเรียนยังขาดความสมดุลและครบถ้วนตามเกณฑ์ ทีมผู้วิจัยและทางโรงเรียนได้ร่วมพัฒนาโครงการย่อย 2 โครงการ คือ “โภชนาการแบบองค์รวม” และ “แปรงฟันด้วยกันก่อนอาบน้ํา” ที่ประกอบด้วยมาตรการทาง สังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งสามารถปรับปรุงโภชนาการของเด็กได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะการลดปริมาณ น้ําตาลลงได้ถึงร้อยละ 80 และปรับปรุงการแปรงฟันของเด็กทุกคนตอนเช้าและเย็นให้สม่ําเสมอและบ้วนน้ําเพียง หนึ่งครั้งได้ ร้อยละของเด็กที่แปรงฟันได้นาน 2 นาทีเพิ่มขึ้นจาก 6.4 เป็น 63.3 โดยใช้วิธีแปรง 12 จังหวะที่พี่เลี้ยง เป็นต้นความคิด สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการนําหลักการเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมและการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้ในการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โครงการสามารถปรับปรุงโภชนาการและนิสัยการแปรงฟันของเด็กได้ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางสําหรับการผนวกการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้เป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2550:30:11-28)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.30.1.2
First Page
11
Last Page
28
Recommended Citation
เกรันพงษ์, สุดาดวง and นิ้วสุวรรณ, วนิดา
(2007)
"โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนตามหลักการสุขภาพแบบองค์รวมและชุมชนมีส่วนร่วม,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 30:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.30.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol30/iss1/2