Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะ อาการของลิ้นแผนที่ และความสัมพันธ์ของอัตราการไหลของน้ําลายและการตรวจ พบเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ในผู้ที่มีลิ้นแผนที่ วัสดุและวิธีการเป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์และทดลองในผู้ที่มีลิ้นแผนที่จํานวน 25 รายและผู้ที่ไม่มีลิ้นแผนที่จํานวน 21 ราย การศึกษานี้เก็บข้อมูลลักษณะ อาการ จํานวนของลิ้นแผนที่ และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ การเก็บน้ําลายใช้การบ้วนทั้งในระยะที่ไม่ได้รับและได้รับการกระตุ้น ตรวจหาเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ด้วยสีเพอร์ไอ- โอดิค อะชิด ชิฟฟ์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ ใช้สถิติวิเคราะห์ unpaired t test ในการเปรียบเทียบอัตราการไหลของ น้ําลาย และใช้สถิติวิเคราะห์ chi-square test ในการหาความสัมพันธ์ของอาการของลิ้นแผนที่ การไหลของน้ําลาย และการมีเชื้อแคนดิดา ผลการศึกษา พบการหลุดลอกของปุ่มรับรสฟิลิฟอร์มเป็นหย่อมๆ เป็นรอยแดง ขอบส่วนใหญ่มีการหนาตัวของ เนื้อเยื่อเคราติน ผู้ที่มีลิ้นแผนที่ 20 ราย (ร้อยละ 80) มีรอยแดงหลายตําแหน่ง 14 ราย (ร้อยละ 56) มีอาการปวด แสบปวดร้อน การรับรสเปลี่ยนไปหรือมีอาการปากแห้ง พบความแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติของอัตรา การไหลของน้ําลาย รวมทั้งการตรวจพบเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ระหว่างผู้ที่มีและไม่มีลิ้นแผนที่ และในระหว่างผู้ที่ มีลิ้นแผนที่ที่มีอาการและไม่มีอาการ สรุป ในการศึกษานี้ผู้ที่มีและไม่มีลิ้นแผนที่มีอาการแสดง อัตราการไหลของน้ําลาย และเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ แตกต่างกันแต่เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติแล้วไม่พบค่าแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ของอาการกับอัตราการไหลของน้ําลาย และการมีเชื้อแคนดิดาในผู้ที่มีลิ้นแผนที่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:205-218)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.5
First Page
205
Last Page
218
Recommended Citation
พิบูลย์รัตนกิจ, พรพรรณ; จันทร์บรรเลง, ธีรวัฒน์; โยนกพันธ์, ภัควุฒินันท์; and เหลืองจามีกร, ลัคนา
(2006)
"อัตราการไหลของน้ําลายและเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ในผู้ที่มีลิ้นแผนที่,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss3/5