Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดและความชุกของภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรมข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้อาจใช้เป็นแนวทางให้ทันตแพทย์สร้างสมรรถนะในการป้องกัน และจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เป็นปัญหาจริงในคลินิกทันตกรรม และอาจเป็นประโยชน์สําหรับการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต วัสดุและวิธีการ ศึกษาเชิงพรรณนาโดยส่งแบบสอบถาม ให้แก่กลุ่มตัวอย่างทันตแพทย์จํานวน 4,000 คน จาก ทะเบียนรายชื่อสมาชิกของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ช่วงระยะเวลารวบรวมแบบสอบถาม คือ เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจํานวน 464 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 11.6 ภาวะฉุกเฉินที่พบมากที่สุดคือ ภาวะเป็นลมหมดสติชั่วคราว (พบ 16.16 รายต่อหนึ่งช่วงอายุทํางานของทันตแพทย์) รองลงมาได้แก่ ภาวะระบาย ลมหายใจเกิน (3.53) ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง (2.99) ภาวะน้ําตาลในเลือด (1.44) ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ จากยาชาเฉพาะที่ (1.14) อาการปวดเค้นหน้าอก (0.55) และภาวะชัก (0.42) ประมาณครึ่งหนึ่งของทันตแพทย์ (ร้อยละ 51.2) เชื่อว่าตนเองมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดแบ็กวาล์ฟมาสก์ หรือแอมบู รู้จัก การใช้อะดรีนาลินมีเพียงร้อยละ 29.1 ทันตแพทย์เกือบร้อยละ 80 ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ร้อยละ 36.2 คิดว่าสามารถให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรม สรุป ภาวะเป็นลมหมดสติชั่วคราวเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยที่สุด ภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมชนิดอื่น ๆ พบอุบัติการณ์ รวมกันเพียง 10.7 ราย ในหนึ่งช่วงอายุการทํางาน ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในการวินิจฉัยสาเหตุของ ภาวะฉุกเฉิน การใช้ยาเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉิน และการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:171-182)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.2
First Page
171
Last Page
182
Recommended Citation
จิระกิจจา, จีรวรรณ; สอาดเอี่ยม, บุญฤทธิ์; and ภัทรสุภฤกษ์, สุทธา
(2006)
"ความชุกของภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมในขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรม และความพร้อมในการจัดการภาวะฉุกเฉินของทันตแพทย์ไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss3/2