Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ ต้องการนําวิธีพีซีอาร์ มาใช้ยืนยันการระบุเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จึงจิวาลิส ที่นํามาจาก ร่องลึกปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ของผู้ป่วยจํานวน 3 ราย วัสดุและวิธีการ ทําการแยกเชื้อแบล็คพิคเม็นเต็ด แบคทีรอยดีส (3 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อหมายเลข 1, 2 และ 3) จากเชื้อที่ได้จากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ 3 ราย โดยผู้ป่วยเป็นชาวไทยที่มารับ การรักษาโรคปริทันต์จากภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทําการเพาะเลี้ยง เชื้อที่แยกมาได้ (ทั้ง 3 ชนิดนี้) ลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อพวกเบรนฮาร์ทอินฟิวชั่นยีสต์เอ็กแทรกบลัดชีพอาการใน ตู้อบที่ปราศจากออกซิเจนที่มีไนโตรเจนร้อยละ 80 ไฮโดรเจนร้อยละ 10 และคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 10 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน แล้วนําเชื้อแบล็คพิคเม็นเต็ด แบคทีรอยดีส (ทั้ง 3 ชนิดที่เพาะเลี้ยง ขึ้นเรียบร้อยแล้ว) ไปทําการแยกดีเอ็นเอ สําหรับการทําพีซีอาร์ เพื่อทําการระบุชนิดของเชื้อต่อไป ผลการศึกษา ผลที่ได้จากการศึกษา ปรากฏว่า เชื้อแบล็คพิคเซ็นเต็ด แบคทีรอยดีส 3 ชนิด ที่ประกอบด้วยเชื้อ หมายเลข 1, 2 และ 3 นั้น เชื้อหมายเลข 1 กับเชื้อหมายเลข 2 ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) ซึ่งตรงกับกลุ่มควบคุมบวกที่ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) ส่วนเชื้อหมายเลข 3 ไม่ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) สรุป วิธีพีซีอาร์เป็นวิธีที่เหมาะต่อการนํามาใช้ระบุเชื้อพีจีจากผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์อักเสบ เพราะสามารถระบุเชื้อพีจีได้รวดเร็วและแม่นยํา (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:161-170)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.1
First Page
161
Last Page
170
Recommended Citation
คูวัฒนสุชาติ, จินตกร
(2006)
"การระบุเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จิงจิวาลิส ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ โดยวิธีพีซีอาร์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
3, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss3/1