Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยเพื่อใช้ในการวางแผนการส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชนกลุ่มนี้ วัสดุและวิธีการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทําการสํารวจข้อมูลทั่วไป และสภาวะฟันผุ ถอน อุด โดยใช้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (ค.ศ. 1997) โดยสํารวจประชากรจํานวน 5,958 คน ใน 28 พื้นที่ (26 หมู่บ้าน) ในเขตดอยตุงในปี พ.ศ. 2543 รายงานนี้ ได้นําเสนอผลของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 2,727 คน แยกตาม กลุ่มอายุที่องค์การอนามัยโลกใช้ในการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพ ผลการศึกษา ฟันน้ํานมของเด็กอายุ 3 ปี (จํานวน 155 คน) มีโรคฟันผุร้อยละ 68 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.39 ซี่ต่อคน (s.d. = 4.07) ในเด็กอายุ 5-6 ปี (จํานวน 341 คน) พบว่าร้อยละ 6 เริ่มมีฟันถาวร ถอน อุด (0.33 ซี่/คน s.d. = 0.96) และร้อยละ 8 มีความจําเป็นที่จะได้รับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ในเด็กอายุ 12 ปี (จํานวน 145 คน) มีโรคฟันผุร้อยละ 83 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของฟันแท้เท่ากับ 2.31 ซี่ต่อคน (s.d. = 2.51) กลุ่มอายุ 25-34 ปี (จํานวน 844 คน) มีฟันผุร้อยละ 82 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 3.52 ซี่ต่อคน (s.d. = 3.72) กลุ่มอายุ 35-44 ปี (จํานวน 818 คน) มีฟันผุร้อยละ 87 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดเท่ากับ 5.15 ซี่ต่อคน (s.d. = 5.14) ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (จํานวน 424 คน) มีฟันผุร้อยละ 95 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 12.10 ซี่ต่อคน (s.d. = 9.43) โดยในทุกกลุ่มอายุ พบว่าชาวจีนฮ่ออัตราฟันผุ ถอน อุด สูงกว่าชาติพันธุ์อื่น ๆ สรุป อัตราการผุ ถอน อุด ของฟันน้ํานมและฟันแท้ของเด็กในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่ม อายุเดียวกันในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย โดยชาวจีนฮ่อมีอัตราการผุสูงสุดทั้งในฟันน้ํานมและฟันแท้ ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฟันผุในเด็กพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในชาวจีนฮ่อ ในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุพบว่าอัตราฟันผุสูงกว่าประชาชนในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ดังนั้น จึงมีความ จําเป็นที่จะให้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฟันผุในกลุ่มผู้ใหญ่เช่นกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:139-148)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.9
First Page
139
Last Page
148
Recommended Citation
ภูริเดช, ภฑิตา; เกียรติพงษ์สาร, สุรสิทธิ์; ระพีสุวรรณ, สุนทราพงศ์; and พิศาลธุรกิจ, ผกาภรณ์
(2006)
"สภาวะฟันผุ ถอน อุด ของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss2/9