Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ของการศึกษานี้เพื่อ 1) ประเมินความน่าเชื่อถือของค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้าง จากภาพเงาดําและภาพถ่ายที่ได้จากคณะกรรมการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความสวยงามที่ได้ จากภาพเงาดํากับภาพถ่าย และ 3) เปรียบเทียบค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้างจากใบหน้าที่มีความ โค้งนูนในระดับต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ถ่ายภาพใบหน้าด้านข้างของอาสาสมัครหญิงไทยผู้ใหญ่อายุ 20 ถึง 24 ปี ที่มีระดับความโค้งนูน ของใบหน้าต่าง ๆ กัน จํานวน 31 ภาพ สแกนภาพถ่ายเพื่อเปลี่ยนและบันทึกให้อยู่ในรูปแบบ JPEG เปลี่ยนภาพ ใบหน้าด้านข้างให้เป็นภาพเงาดําด้วยโปรแกรมโฟโต้ชอปรุ่น 7.0 จากนั้นสร้างชุดภาพเงาดําและภาพใบหน้าด้าน ข้างแบบสุ่ม ให้คณะกรรมการซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 (ชาย 17 คน หญิง 27 คน อายุ 19-21 ปี) ให้คะแนนความ สวยงาม โดยมีคะแนนต่ําสุดเป็น 0 สูงสุดเป็น 10 (ช่วงห่าง 0.5 คะแนน) หลังจากนั้น 1 เดือนให้ คะแนนครั้งที่สอง วัดค่าความโค้งนูนของใบหน้าจากภาพถ่ายใบหน้าด้านข้างและแบ่งเป็นอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 (9 คน, -6.3 ถึง 1.1 องศา) กลุ่ม 2 (13 คน, 3.0 ถึง 8.8 องศา) กลุ่ม 3 (9 คน) 9.1 ถึง 24.4 องศา) ผลการศึกษา พบว่าค่าความผิดพลาดของค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้างจากภาพเงาดําและภาพถ่าย เท่ากับ 0.36 และ 0.35 องศาตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสวยงามของภาพเงาดําครั้งที่หนึ่ง (4.4 + 1.2) และครั้งที่สอง (4.4 + 0.7) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p = 0.94) ในขณะที่ค่าความสวยงามของ ภาพถ่ายใบหน้าครั้งที่หนึ่ง (4.5 + 0.9) และครั้งที่สอง (4.1 + 0.7) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p = 0.01) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากภาพเงาดําและภาพถ่ายใบหน้าครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองมีค่าเท่ากับ0.66 และ 0.73 ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าความสวยงามของใบหน้าด้านข้างที่ได้จากภาพเงาดําและภาพถ่าย ระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ 2 ได้คะแนนมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่ 1 ได้คะแนนน้อยที่สุด ในการทดสอบครั้งที่หนึ่ง ค่าความสวยงามของภาพเงาดําและภาพถ่ายใบหน้าด้านข้างของกลุ่มที่ 2 (5.0 + 0.9 และ 5.0 + 0.4) และกลุ่มที่ 3 (4.7 + 1.2 และ 4.7 + 0.9) สูงกว่าคะแนนของกลุ่มที่ 1 (3.5 + 0.8 และ 3.8 + 0.8) อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป การให้คะแนนความสวยงามของใบหน้าด้านข้างที่กระทําโดยคณะกรรมการโดยใช้ภาพเงาดําและภาพใบหน้า สามารถทําซ้ําได้ในระดับหนึ่ง สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่สองที่ความโค้งนูนของใบหน้าประมาณค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาสา สมัครมีแนวโน้มที่ได้คะแนนความสวยงามมากที่สุด อย่างไรก็ตามการนําเอาคะแนนความสวยงามจากกลุ่มคณะกรรมการไปใช้ จะต้องคํานึงถึงความผิดพลาดของการให้คะแนนที่เกิดขึ้นได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:127-138)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.8
First Page
127
Last Page
138
Recommended Citation
เตชะเลิศไพศาล, ไพบูลย์; เจิ่งประภากร, สมศักดิ์; พงศ์วราภา, สลิลธร; and แสงหิรัญสุข, อัญญานี
(2006)
"ความสวยงามของใบหน้าด้านข้างของผู้หญิงไทยประเมินจากภาพเงาดําและภาพถ่าย: ความน่าเชื่อถือของค่าความสวยงามที่ให้โดยกลุ่มคณะกรรมการ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss2/8