Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับวัสดุ ประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ วัสดุและวิธีการ ศึกษาในฟันกรามแท้จํานวน 15 ซี่ แบ่งฟันในแนวด้านแก้มลิ้นออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน เลือก แบบสุ่มเพื่อทดสอบวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิลเอฟ) และวัสดุประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิล) ยึดวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันและบ่มด้วยแสงให้แข็งตัว นําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดแช่น้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอนที่ความเร็ว 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ แพร์ทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแรงยึดเฉือนของเฮลิโอซิลเอฟและเฮลิโอซิลมีค่า 15.91 + 5.18 และ 15.52 + 3.75 เมกกะปาสคาล ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุป แรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจากวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:103-110)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.5
First Page
103
Last Page
110
Recommended Citation
โล้วพฤกษ์มณี, วรรณา and ธราภิวัฒนานนท์, ทิพวรรณ
(2006)
"การเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss2/5