Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-01-01
Abstract
การใช้หน้ากากดึงขากรรไกรบน (facemask) เป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขการสบฟันแบบคลาสทรี ที่เกิด จากโครงสร้างขากรรไกรบนมีตําแหน่งถอยหลังในผู้ป่วยที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างใบหน้า โดยเกิดการเคลื่อนของขากรรไกรบนและฟันบนมาข้างหน้า นิยมทําการขยายขากรรไกรบนร่วมด้วย เพื่อชดเชยกับการหดตัวในบริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบนขณะทําการดึงมาข้างหน้า แม้ก่อนการรักษาไม่ปรากฏว่าขากรรไกรบนแคบก็ตาม ตําแหน่งที่ใช้ดึงยางควรดึงจากบริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบนในทิศทางลงล่าง เพื่อลด การหมุนส่วนหน้าขึ้นของขากรรไกรบน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการดึงขากรรไกรบน ควรทําก่อนที่จะมีการ เจริญเติบโตสูงสุด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างมากกว่าการเคลื่อนของฟัน ปริมาณแรงที่ใช้เพื่อให้เกิดการเคลื่อนของโครงสร้างนั้นมีปริมาณมากกว่าการเคลื่อนของฟัน ระดับแรงที่พบว่าทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของขา กรรไกรบนมาข้างหน้ามีค่าประมาณ 300-500 กรัมต่อข้าง ผู้ป่วยควรใส่เครื่องมืออย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน หากปริมาณแรงน้อย ระยะเวลาการใส่แต่ละวันและช่วงระยะเวลาการรักษาก็จะยาวนานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความ รุนแรงและอายุของผู้ป่วยด้วย หลังการขยายและดึงขากรรไกรบนมาข้างหน้าจนสําเร็จแล้ว ควรติดตามผลหลังการ รักษา และ/หรือให้ผู้ป่วยใส่เครื่องมือคงสภาพเฉพาะตอนกลางคืนจนกว่าผู้ป่วยหมดการเจริญเติบโต (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:44-51)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.5
First Page
44
Last Page
51
Recommended Citation
พูนวุฒิกุล, ชวาศรี
(2006)
"การรักษาด้วยหน้ากากดึงขากรรไกรบน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss1/5