Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่า ความกว้างของฟันหน้าบนทั้ง 6 ซี่ มีความสัมพันธ์กับความกว้างของปีกจมูกและ ระยะห่างระหว่างหัวตาหรือไม่ เพื่อจะนําผลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการเลือกขนาดฟันหน้าที่เหมาะสมใน การทําฟันเทียม เนื่องจากผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในคนเชื้อชาติอาหรับและคนผิวขาว ซึ่งโครงสร้างใบหน้ามีความแตกต่างไปจากคนเอเชียค่อนข้างมาก จึงต้องการตรวจสอบว่าจะสามารถนําผลการวิจัยครั้งนี้มาใช้กับประชากรไทยได้หรือไม่ โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงพรรณนา วัสดุและวิธีการ ดําเนินการเก็บบันทึกข้อมูลจากผู้ป่วยอายุมากกว่า 17 ปีขึ้นไปที่เข้ามารับบริการที่กลุ่มงาน ทันตกรรม โรงพยาบาลกลาง จํานวน 303 คน แยกเป็นชาย 141 คน หญิง 162 คน อายุระหว่าง 18-71 ปี (อายุเฉลี่ย 35.2 + 13 ปี) โดยที่กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีฟันหน้าบนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ครบทั้ง 6 ซี่ ไม่เคยได้รับการรักษาด้วย การจัดฟันมาก่อน ในกรณีที่มีความผิดปกติบนใบหน้าซึ่งเป็นมาแต่กําเนิดหรือได้รับอุบัติเหตุในภายหลัง มีโรค ทางตาหรือได้รับการผ่าตัดบนใบหน้ามาก่อน มีช่องฟันห่าง มีการสึกเหตุบดเคี้ยวจนถึงบริเวณสัมผัส มีรอยผุและ วัสดุอุดฟันด้านประชิดหรือมีการบูรณะด้วยครอบฟันจะถูกคัดออก ทําการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการวัดระยะห่าง ระหว่างส่วนที่กว้างที่สุดของปีกจมูกแต่ละข้าง ระยะห่างระหว่างจุดบรรจบของหนังตาบนและล่างของหัวตาแต่ละข้างและระยะรวมของส่วนที่กว้างมากที่สุดของฟันหน้าบนแต่ละซี่ตั้งแต่ฟันเขี้ยวบนขวาถึงฟันเขี้ยวบนซ้ายรวม 6 ทําการวัด 3 ครั้งในแต่ละตัวแปร นํามาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นําค่าเฉลี่ยที่ได้มาทําการวิเคราะห์ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของฟันหน้าบนกับความกว้างของปีกจมูกและระยะห่างระหว่างหัวตา โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's correlation coefficients) ( A = 0.05) ด้วยโปรแกรม เอสพีเอสเอส สําหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ เวอร์ชั่น 11.5 (SPSS 11.5 for Windows) ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนทั้ง 6 ที่มีค่า 46.86 + 2.49 มม. ค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูก มีค่า 41.32 + 3.86 มม. และค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตามีค่า 34.81 + 2.78 มม. จากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนกับค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกและค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตา พบว่า ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.271, p < 0.001) ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยระยะ ห่างระหว่างหัวตาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.109, p = 0.042) และค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกมีความ สัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.153, p = 0.008) จากค่าดังกล่าวพบว่าถึงแม้ค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกและค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตามีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนค่อนข้างน้อยแต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยที่ค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกจะมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนมากกว่าค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตา และเมื่อนําค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกและค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตามาใช้ทํานายค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนด้วย สมการถดถอยเส้นตรง (Linear regression) พบว่า ค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกเป็นตัวแปรเดียวที่มีความ สัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุป การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถนําเอาความกว้างของปีกจมูก และระยะห่างระหว่างหัวตามาใช้เป็นข้อมูล เบื้องต้นสําหรับเลือกขนาดฟันหน้าบนทั้ง 6 ซี่ในการทําฟันเทียมให้กับประชากรไทยได้ ถึงแม้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สันจะมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างน้อยแต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001)โดยที่ความกว้างของปีกจมูกจะมีความสัมพันธ์กับขนาดฟันหน้าบนทั้ง 6 ซี่มากกว่าการใช้ค่าระยะห่างระหว่างหัวตา และจากความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างจะน้อยทําให้ไม่สามารถที่จะนําเอาค่าความกว้างของปีกจมูกมาเป็นข้อกําหนดในการ หาขนาดฟันหน้าบน 6 ซี่ที่แน่นอนได้เพียงอย่างเดียว ยังคงต้องใช้วิธีการอื่น ๆ มาร่วมในการเลือกด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:33-43)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.4
First Page
33
Last Page
43
Recommended Citation
นิลเจริญ, สิทธิเดช
(2006)
"ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของฟันหน้าบนกับความกว้างของปีกจมูกและระยะห่างระหว่างหัวตา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss1/4