Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วนของแบคทีเรียในพ็อกเก็ต และลักษณะทางคลินิก หลังการขูดหินน้ําลายใต้เหงือก ด้วยหัวขูดอัลทราโซนิกส์คล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป ในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง วัสดุและวิธีการ การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 12 คน ตําแหน่งทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีพ็อกเก็ต 3.1-5.0 ม.ม. จํานวน 97 ตําแหน่ง และกลุ่มที่มีพ็อกเก็ต 5.1-7.0 ม.ม. จํานวน 43 ตําแหน่ง การศึกษาผลทาง จุลชีววิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเฟส-คอนทราสต์ และการวัดผลทางคลินิกด้วยค่าความลึกของพ็อกเก็ต และ ระดับการยืดติดของอวัยวะปริทันต์ ในช่วงเวลา 8 สัปดาห์ จํานวนแบคทีเรียใต้เหงือกที่นับได้ให้คํานวณค่าด้วย ลอการิทึมฐาน 10 ก่อนนําไปวิเคราะห์ผลด้วยสถิตินั้นพาราเมตริก ชนิดการทดสอบมันน์-วิตนีย์ทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มทดลอง และการทดสอบเชิงเครื่องหมายและลําดับที่แบบวิลคอกชันทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่ม ทดลองของแต่ละช่วงเวลา การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความลึกของพ็อกเก็ต และระดับการยืดตัว ของอวัยวะปริทันต์ ระหว่างกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติการทดสอบสําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน และ การทดสอบที่สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กันทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลอง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ระหว่างกลุ่ม พบว่า สัดส่วนของแบคทีเรียทุกประเภทแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (p < .05) ในสัปดาห์ที่ 8 โดยสัดส่วนของแบคทีเรียรูปกลม และรูปแท่งเคลื่อนที่ไม่ได้จะเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนของ แบคทีเรียรูปแท่งเคลื่อนที่ได้ และสไปโรคีตส์จะลดลงในทุกช่วงเวลาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 0 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนี้ ค่าร้อยละของสไปโรคีตส์ในตําแหน่งที่มีพ็อกเก็ตลึกจะมากกว่าตําแหน่งที่มีพ็อกเก็ตขึ้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคลินิกได้แก่ ความลึกของพ็อกเก็ตลดลง และระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์เพิ่มขึ้น ในแต่ละช่วงเวลาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ตลอดช่วงเวลาการศึกษา เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 0 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลอง จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) เช่นเดียวกัน สรุป การใช้หัวอัลทราโซนิกส์ขูดหินน้ําลายคล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป จะเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วนของ แบคทีเรียใต้เหงือก และลักษณะทางคลินิกของอวัยวะปริทันต์เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา โดยความลึกของพ็อกเก็ตมีแนวโน้มต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแบคทีเรียใต้เหงือกภายหลังการรักษา (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:22-32)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.3
First Page
22
Last Page
32
Recommended Citation
เยี่ยมวัฒนา, อิชยา
(2006)
"การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยาและทางคลินิกหลังการใช้หัวขูดหินน้ําลายอัลทราโซนิกส์คล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss1/3