Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการใช้สารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติมต่อการป้องกันการสึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟันในห้องทดลอง วัสดุและวิธีการ การวิจัยใช้ฟันกรามน้อย 40 ซี่ นํามาเตรียมชิ้นตัวอย่าง โดยตัดแต่งและกําจัดชั้นเคลือบรากฟัน ออกจะได้ชิ้นเนื้อฟันบริเวณรากฟันทั้งหมด 40 ชิ้น นําไปอาบกัมมันตรังสี และแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามชนิดของสารที่ใช้ เคลือบบนผิวเนื้อฟัน ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่งใช้สารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM กลุ่มที่สองใช้สารเรซินชนิดเดียวกับ กลุ่มที่หนึ่งแต่ไม่มีตัวเติม Seal&ProtectTM กลุ่มที่สามใช้สารเรซินที่ไม่มีตัวเติมคือใช้ All-bond 2 และกลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ บนผิวเนื้อฟัน นําชิ้นตัวอย่างไปทดสอบการสึกกร่อนของเนื้อฟันด้วยวิธี เรดิโอเทรเซอร์ โดยดัดแปลงจากวิธีของเอดีเอ วัดปริมาณสารกัมมันตรังสีในสารละลายยาสีฟันที่ได้จากการแปรงฟัน ด้วยเครื่องแปรงฟันวี8 โดยตรวจนับปริมาณและคํานวณหน่วยเป็นจํานวนนับต่อนาที ด้วยเครื่องตรวจนับ กัมมันตรังสี และวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสําคัญ 05 ผลการศึกษา ปริมาณการสึกกร่อนของเนื้อฟันมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุ่มที่เคลือบสารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM มีค่าเฉลี่ยจํานวนการสึกกร่อนของเนื้อฟันน้อยที่สุด และ แตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป ผลจากการวิจัยนี้แสดงว่าสารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM สามารถลดการ สึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟันได้ และอาจเป็นแนวทางในการนําไปใช้รักษาผู้ป่วยที่เสียวรากฟัน อย่างไรก็ดีควรมีการประเมินผลทางคลินิกด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:13-21)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.2
First Page
13
Last Page
21
Recommended Citation
แสงพานิชย์, ชมพูนุช; ประภากมล, สุวภา; and พูลทอง, สุชิต
(2006)
"ผลการใช้สารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติมต่อการป้องกันการสึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss1/2