Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2006-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลของวัสดุเรซินคอมโพสิตในปัจจุบัน จํานวน 5 ผลิตภัณฑ์ที่มีฟิลเลอร์และเรซินเมทริกซ์ต่างกัน วิธีการทดลอง วัสดุเรซินคอมโพสิตที่ใช้ในการทดลองนี้จํานวน 5 ผลิตภัณฑ์คือ Admira (Voco), CeramX (Dentsply), Filtek Supreme translucent (3M ESPE), Filtek Supreme standard (3M ESPE) และ Z250(3M ESPE) แต่ละผลิตภัณฑ์จะถูกเตรียมเป็นชิ้นทดสอบรูปแผ่นกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 มม.หนา 2 มม. จํานวน 15 ชิ้น และเก็บไว้ในน้ํากลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสก่อนการทดสอบ ค่าความแข็งแรงตัดขวางชนิด ไบแอกเชียลของวัสดุเรซินคอมโพสิตได้จากการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบสากล ที่ความเร็วการกด 0.5 มม. ต่อ นาที จากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบทุกย์ ผลการศึกษา วัสดุ Filtek Supreme translucent มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเฉลี่ย 167.13 เมกะปาสคาลซึ่งสูงกว่าวัสดุทุกชนิดที่นํามาทดสอบ ค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเฉลี่ยของ Filtek Supreme standard และ Z250 เท่ากับ 154.78 และ 147.01 เมกะปาสคาลตามลําาดับโดยแตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสําคัญ วัสดุ Admira มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเท่ากับ 122.67 เมกะปาสคาลและวัสดุ CeramX มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเท่ากับ 109.89 เมกะปาสคาล โดยวัสดุ Admira มีค่า ความแข็งแรงต่ํากว่าวัสดุ Z250 แต่สูงกว่าวัสดุ CeramX อย่างมีนัยสําคัญ สรุป จากวัสดุเรซินคอมโพสิตที่ใช้ในการศึกษานี้ วัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีฟิลเลอร์ขนาดเล็กมีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเซียลสูงกว่าวัสดุมีขนาดฟิลเลอร์ใหญ่กว่าและวัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีโมเลกุลของออโมเซอร์ เป็นส่วนประกอบไม่ได้มีความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลมากกว่าวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดอื่น (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:1-12)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.1
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
กฤโตปการ, กมลา; สกุลณะมรรคา, รังสิมา; and พูลทอง, สุชิต
(2006)
"ความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเซียลของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิต,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 29:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.29.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol29/iss1/1