•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2005-09-01

Abstract

การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีที่มีการขาดหายไปของฟันแท้ มีฟันฝังหรือฟันคุด การพิจารณาผู้ป่วยที่จะรับการปลูกถ่ายฟันต้องประเมินสภาพร่างกายที่ไม่เป็น ข้อห้ามสําหรับการผ่าตัด หน่อฟันที่จะปลูกถ่ายควรมีการสร้างความยาวรากฟันได้ประมาณสามในสี่ส่วน โดยไม่มี ความผิดปกติของรูปร่างรากฟัน และตําแหน่งที่จะปลูกถ่ายควรมีความหนาของกระดูกเบ้าฟันโดยรอบอย่างน้อย 0.5 มิลลิเมตร การปลูกถ่ายฟันสามารถกระทําได้หลายบริเวณ คือ บริเวณฟันตัด ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยและฟันกราม ซึ่งพบความสําเร็จถึงร้อยละ 50-97 ภายหลังการปลูกถ่ายฟันจะยึดฟันให้อยู่นิ่งเพื่อให้เนื้อเยื่อรอบฟันเกิดการซ่อมแซม ซึ่งกระทําได้หลายวิธี คือ การมัดด้วยลวด การใช้เครื่องยึดฟันอะคริลิก การยึดโดยใช้กรดกัดเคลือบฟันร่วมกับการ ใช้เรซินคอมโพสิต การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันและการใช้วัสดุเย็บแผล ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่ ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ การติดเชื้อ การตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน การละลายของรากฟันทั้งจากภายในและภายนอก สําหรับการหายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันให้พิจารณาจากการตีบตันของเนื้อเยื่อในโพรงฟันในระยะเวลา 6 เดือนแรกหลังการปลูกถ่ายฟัน เนื่องจากการทดสอบความมีชีวิตของฟันด้วยกระแสไฟฟ้าในระยะเวลาดังกล่าวยังได้ผลไม่แน่นอนอย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเคลื่อนฟัน ควรกระทําเมื่อมีการหายของเนื้อเยื่อปริทันต์และก่อนที่ เนื้อเยื่อในโพรงฟันจะเกิดการตีบตันทั้งหมด คือ ประมาณ 3-9 เดือนภายหลังการปลูกถ่ายฟัน และควรระมัดระวัง ในกรณีหมุนฟินที่มีหลายราก เพราะพบอัตราการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันเพิ่มขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.28.3.8

First Page

253

Last Page

262

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.