Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2005-09-01
Abstract
การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีที่มีการขาดหายไปของฟันแท้ มีฟันฝังหรือฟันคุด การพิจารณาผู้ป่วยที่จะรับการปลูกถ่ายฟันต้องประเมินสภาพร่างกายที่ไม่เป็น ข้อห้ามสําหรับการผ่าตัด หน่อฟันที่จะปลูกถ่ายควรมีการสร้างความยาวรากฟันได้ประมาณสามในสี่ส่วน โดยไม่มี ความผิดปกติของรูปร่างรากฟัน และตําแหน่งที่จะปลูกถ่ายควรมีความหนาของกระดูกเบ้าฟันโดยรอบอย่างน้อย 0.5 มิลลิเมตร การปลูกถ่ายฟันสามารถกระทําได้หลายบริเวณ คือ บริเวณฟันตัด ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยและฟันกราม ซึ่งพบความสําเร็จถึงร้อยละ 50-97 ภายหลังการปลูกถ่ายฟันจะยึดฟันให้อยู่นิ่งเพื่อให้เนื้อเยื่อรอบฟันเกิดการซ่อมแซม ซึ่งกระทําได้หลายวิธี คือ การมัดด้วยลวด การใช้เครื่องยึดฟันอะคริลิก การยึดโดยใช้กรดกัดเคลือบฟันร่วมกับการ ใช้เรซินคอมโพสิต การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันและการใช้วัสดุเย็บแผล ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่ ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ การติดเชื้อ การตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน การละลายของรากฟันทั้งจากภายในและภายนอก สําหรับการหายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันให้พิจารณาจากการตีบตันของเนื้อเยื่อในโพรงฟันในระยะเวลา 6 เดือนแรกหลังการปลูกถ่ายฟัน เนื่องจากการทดสอบความมีชีวิตของฟันด้วยกระแสไฟฟ้าในระยะเวลาดังกล่าวยังได้ผลไม่แน่นอนอย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเคลื่อนฟัน ควรกระทําเมื่อมีการหายของเนื้อเยื่อปริทันต์และก่อนที่ เนื้อเยื่อในโพรงฟันจะเกิดการตีบตันทั้งหมด คือ ประมาณ 3-9 เดือนภายหลังการปลูกถ่ายฟัน และควรระมัดระวัง ในกรณีหมุนฟินที่มีหลายราก เพราะพบอัตราการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันเพิ่มขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.28.3.8
First Page
253
Last Page
262
Recommended Citation
ธรรมชาติอารี, ศิริชัย and ศิริชุมพันธ์, จินตนา
(2005)
"การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 28:
Iss.
3, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.28.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol28/iss3/8