•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2005-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ศึกษาอิทธิพลของรสและอุณหภูมิของเครื่องดื่มชาเขียวต่ออัตราการไหลของน้ําลาย วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 30 คน อายุ 20-22 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่ใช้ยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการทดลอง ในวันแรก ทําการเก็บน้ําลายในระยะควบคุม โดยให้อาสาสมัครนั่งก้มหน้า ปล่อยน้ําลายให้ ไหลลงในภาชนะเป็นเวลา 10 นาที ในวันที่สองถึงเจ็ต ให้อาสาสมัครดื่มน้ําปราศจากแร่ธาตุ หรือเครื่องดื่มชาเขียว ที่มีอุณหภูมิ 5, 30 หรือ 50 องศาเซลเซียส ชนิดละ 300 มิลลิลิตร ตามลําดับ โดยใช้หลอดดูด แล้วเก็บน้ําลายใน ระยะทดลอง ด้วยวิธีการเติมเป็นเวลา 10 นาที คํานวณอัตราการไหลของน้ําลายทุกระยะเป็นมิลลิลิตร/นาที เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของอัตราการไหลของน้ําลายในระยะควบคุม หลังดื่มน้ํา กับหลังดื่มชาเขียว ที่อุณหภูมิต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หากพบมีนัยสําคัญจึงทดสอบหาคู่ ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของน้ําลายระยะควบคุม เท่ากับ 0.47±0.27 มิลลิลิตร/นาที หลังการดื่มน้ําและ ชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 5, 30 และ 50 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.67±0.25, 0.48±0.26, 0.51±0.24, 0.75±0.28, 0.56±0.32 และ 0.60±0.30 มิลลิลิตร/นาที ตามลําดับ อัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสสูงกว่า อัตราการไหลของน้ําลายในระยะควบคุมและหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < .05) แต่ไม่แตกต่างจากภายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นอกจากนี้ อัตราการไหลของน้ําสายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติด้วย สําหรับอัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า สูงกว่าอัตราการไหลของ น้ําลายในระยะควบคุม และหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และอัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียสแตกต่างกันน้อยมากจนไม่ ปรากฏนัยสําคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับผลการทดลองที่ได้จากการดื่มน้ํา อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการ ไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวและหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิเท่ากัน พบว่า อัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียว สูงกว่าหลังดื่มน้ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทุกอุณหภูมิ (p < .05) ที่มีความแตกต่างกันทีละคู่ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสําคัญน้อยที่สุดสรุป รสของเครื่องดื่มชาเขียวสามารถกระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหลเพิ่มขึ้น และขาเขียวชนิดเป็นกระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหลเพิ่มขึ้นได้มากกว่าชาเขียวชนิดร้อน

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.28.3.4

First Page

221

Last Page

228

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.