•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2005-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาโพรพราโนลอลซึ่งเป็นยาปิดกั้นเบต้าที่ไม่จําเพาะเจาะจง ในการลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกรที่มีความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและ/หรือข้อต่อขากรรไกร จํานวน 4 คน โดยผู้ป่วยรับประทานยาโพรพราโนลอลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (สัปดาห์แรกได้รับยาโพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมต่อวันและในสัปดาห์ที่สองได้รับยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมต่อวัน) จากนั้นหยุดพักยา 2 สัปดาห์ และรับประทานยาลวง 2 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยบันทึกระดับความเจ็บปวด (ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย, ความเจ็บปวดสูงสุด, ความเจ็บปวดต่ําสุด และร้อยละของเวลาในช่วงที่ตื่นที่มีความเจ็บปวด) ในแบบฟอร์มที่ผู้วิจัยจัดไว้ให้ทุกวัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยและผู้วิจัยไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใดในแต่ละช่วง การเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดระหว่างแต่ละช่วง ของการทดลองใช้การทดสอบเชิงผลรวมและลําดับที่แบบวิลคอกชน ผลการศึกษา ยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมสามารถทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง ส่วนยา โพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมมิได้ทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง อย่างไรก็ตาม ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเจ็บปวดระหว่างช่วงการใช้ยาโพรพราโนลอลกับยาลวง (p < .05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองเจ้าหน้าที่ได้สอบถามถึงช่วงที่ผู้ป่วยคิดว่าตนเองได้รับยาโพรพราโนลอล ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทุกคนสามารถระบุได้ถูกต้อง สรุป การทดลองเบื้องต้นในผู้ป่วย 4 คนที่ทําการศึกษา พบว่า ยาโพรพราโนลอลสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย โรคข้อต่อขากรรไกรได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับยาลวงพบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:89-98)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.28.2.1

First Page

89

Last Page

98

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.