Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2005-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาโพรพราโนลอลซึ่งเป็นยาปิดกั้นเบต้าที่ไม่จําเพาะเจาะจง ในการลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกรที่มีความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและ/หรือข้อต่อขากรรไกร จํานวน 4 คน โดยผู้ป่วยรับประทานยาโพรพราโนลอลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (สัปดาห์แรกได้รับยาโพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมต่อวันและในสัปดาห์ที่สองได้รับยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมต่อวัน) จากนั้นหยุดพักยา 2 สัปดาห์ และรับประทานยาลวง 2 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยบันทึกระดับความเจ็บปวด (ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย, ความเจ็บปวดสูงสุด, ความเจ็บปวดต่ําสุด และร้อยละของเวลาในช่วงที่ตื่นที่มีความเจ็บปวด) ในแบบฟอร์มที่ผู้วิจัยจัดไว้ให้ทุกวัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยและผู้วิจัยไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใดในแต่ละช่วง การเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดระหว่างแต่ละช่วง ของการทดลองใช้การทดสอบเชิงผลรวมและลําดับที่แบบวิลคอกชน ผลการศึกษา ยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมสามารถทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง ส่วนยา โพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมมิได้ทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง อย่างไรก็ตาม ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเจ็บปวดระหว่างช่วงการใช้ยาโพรพราโนลอลกับยาลวง (p < .05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองเจ้าหน้าที่ได้สอบถามถึงช่วงที่ผู้ป่วยคิดว่าตนเองได้รับยาโพรพราโนลอล ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทุกคนสามารถระบุได้ถูกต้อง สรุป การทดลองเบื้องต้นในผู้ป่วย 4 คนที่ทําการศึกษา พบว่า ยาโพรพราโนลอลสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย โรคข้อต่อขากรรไกรได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับยาลวงพบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:89-98)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.28.2.1
First Page
89
Last Page
98
Recommended Citation
พะลัง, กนกพร; เข็มขันธุ์, วีนัส; ศรีเลขะรัตน์, อภิญญา; and เหลืองจามีกร, ลัคนา
(2005)
"ผลของยาโพรพราโนลอลต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 28:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.28.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol28/iss2/1