Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2005-01-01
Abstract
การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปสําหรับการทําศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล วิสัญญีแพทย์มีโอกาส พบปัญหาการช่วยหายใจ และการใส่ท่อช่วยหายใจลําบากได้เสมอ การประเมินสภาพทางเดินหายใจในระยะก่อนผ่าตัดและการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมทําให้การระงับความรู้สึกทําได้อย่างปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อน รายงานผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งได้รับการจัดการกับปัญหาใส่ท่อช่วยหายใจต่างกัน ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นชาย อายุ 16 ปี เข้ารับการผ่าตัดเสริมสร้างขากรรไกรล่างด้วยกระดูกเชิงกรานร่วมกับใช้แผ่นโลหะไททาเนียมตามกระดูกลักษณะกายวิภาคของใบหน้าที่บ่งบอกภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลําบาก คือ ขากรรไกรล่างสั้น หลุบเข้าด้านใน และขยับลิ้นได้น้อย ซึ่งเกิดจากการผ่าตัดหลายครั้งก่อน เลือกใช้เทคนิคการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้กล้องตรวจ กล่องเสียงชนิดท่อใยแก้วนําแสง ภายใต้การสูดดมยาสลบได้อย่างปลอดภัย ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นหญิง อายุ 75 ปี ได้รับ การวินิจฉัยเป็นลุควิกส์แองไจนา ต้องผ่าตัดเจาะระบายหนองออก ภายใต้การดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์วางแผน ขั้นต้นจะทําการประเมินทางเดินหายใจ และใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธีไดเร็กต์ลาริงโกสโคปี หลังจากให้ยาสงบประสาท เข้าหลอดเลือดดํา ผู้ป่วยหมดสติร่วมกับทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถช่วยการหายใจด้วย หน้ากากช่วยหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงต่ําลงมากร่วมกับชีพจรเต้นช้า ผู้ป่วยได้รับการ ผ่าหลอดลมคอฉุกเฉิน เพื่อเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจจนสัญญาณชีพกลับมาปกติ หลังผ่าตัดผู้ป่วยพื้นจาก ยาสลบ รู้สึกตัวดี แต่หายใจเองไม่เพียงพอจําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อใน หออภิบาลผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลตํารวจ ผู้ป่วยกลับบ้านได้หลังจากเข้ารับการรักษานานเกือบ 2 เดือน เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:51-8)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.28.1.6
First Page
51
Last Page
58
Recommended Citation
จิระกิจจา, จีรวรรณ
(2005)
"ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลําบากในผู้ป่วยศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล: รายงานผู้ป่วย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 28:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.28.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol28/iss1/6