•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2005-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายภายหลังการดื่มชาเขียว ชนิดปราศจากนํ้าตาล และชนิดเติมน้ําตาล วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 50 คน อายุ 20-22 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่ใช้ยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการทดลอง ในวันแรก ทําการเก็บน้ําลายในระยะพักเป็นเวลา 10 นาที โดยแบ่งการเก็บเป็น 3 ครั้งติดต่อกัน คือ ครั้งแรกเริ่มต้นเก็บน้ําลายครบ 1 นาที ครั้งที่สองเก็บต่อจาก 1 นาทีจนครบ 5 นาที และครั้งที่สามเก็บต่อจาก 5 นาทีจนครบ 10 นาที คํานวณอัตราการไหลของน้ําลายเป็นมิลลิลิตร/นาทีและวัดความเป็นกรดด่างของน้ําลายด้วย เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง (pH meter, IQ125, USA.) ในวันที่สอง สาม และสี่ ให้อาสาสมัครดื่มน้ําปราศจาก แร่ธาตุ เครื่องดื่มชาเขียวสําเร็จรูปชนิดปราศจากน้ําตาล และชนิดเติมน้ําตาล ชนิดละ 250 มิลลิลิตร โดยใช้หลอดดูดเก็บน้ําลายและวิเคราะห์ด้วยวิธีการเดิม เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของอัตราการไหล และความเป็น กรดด่างของน้ําลายในระยะพัก หลังดื่มน้ํา หลังดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ําตาล และชาเขียวชนิดเติมน้ําตาล ด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หากพบมีนัยสําคัญจึงทําการทดสอบหาคู่ที่มี ความแตกต่างกันทีละคู่ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสําคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของน้ําลายระยะพัก หลังการดื่มน้ํา หลังการดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาล และ ชาเขียวชนิดเติมนํ้าตาล เท่ากับ 0.40±0.15, 0.41±0.15, 0.48±0.26 และ 0.59±0.21 มล./นาที ตามลําดับ ค่าเฉลี่ย ความเป็นกรดด่างของน้ําลายในช่วงเวลาตั้งแต่ 0-1, 1-5 และ 5-10 นาที ในระยะพักเท่ากับ 7.20±0.40, 7.20±0.38 และ 7.2010.39 หลังดื่มน้ําเท่ากับ 7.21±0.40, 7.2010.38 และ 7.19±0.38 หลังดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาลเท่ากับ 7.71±0.39, 7.42±0.38 และ 7.41±0.49 และหลังดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาลเท่ากับ 8.00±0.24, 7.65±0.26 และ 7.49±0.46 ตามลําดับ อัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายระยะพักและหลังการดื่มน้ําไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ แต่อัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายหลังการดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ําตาล สูงกว่าระยะพักและหลังการดื่มน้ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ในขณะที่อัตราการไหลและความเป็นกรดด่าง ของน้ําลายหลังการดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาลสูงกว่าระยะอื่นทุกระยะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป การดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาล กระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหล และมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นมากกว่าการดื่ม ชาเขียวชนิดปราศจากนํ้าตาล (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:11-8)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.28.1.2

First Page

11

Last Page

18

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.