Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2005-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายภายหลังการดื่มชาเขียว ชนิดปราศจากนํ้าตาล และชนิดเติมน้ําตาล วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 50 คน อายุ 20-22 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่ใช้ยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการทดลอง ในวันแรก ทําการเก็บน้ําลายในระยะพักเป็นเวลา 10 นาที โดยแบ่งการเก็บเป็น 3 ครั้งติดต่อกัน คือ ครั้งแรกเริ่มต้นเก็บน้ําลายครบ 1 นาที ครั้งที่สองเก็บต่อจาก 1 นาทีจนครบ 5 นาที และครั้งที่สามเก็บต่อจาก 5 นาทีจนครบ 10 นาที คํานวณอัตราการไหลของน้ําลายเป็นมิลลิลิตร/นาทีและวัดความเป็นกรดด่างของน้ําลายด้วย เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง (pH meter, IQ125, USA.) ในวันที่สอง สาม และสี่ ให้อาสาสมัครดื่มน้ําปราศจาก แร่ธาตุ เครื่องดื่มชาเขียวสําเร็จรูปชนิดปราศจากน้ําตาล และชนิดเติมน้ําตาล ชนิดละ 250 มิลลิลิตร โดยใช้หลอดดูดเก็บน้ําลายและวิเคราะห์ด้วยวิธีการเดิม เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของอัตราการไหล และความเป็น กรดด่างของน้ําลายในระยะพัก หลังดื่มน้ํา หลังดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ําตาล และชาเขียวชนิดเติมน้ําตาล ด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หากพบมีนัยสําคัญจึงทําการทดสอบหาคู่ที่มี ความแตกต่างกันทีละคู่ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสําคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของน้ําลายระยะพัก หลังการดื่มน้ํา หลังการดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาล และ ชาเขียวชนิดเติมนํ้าตาล เท่ากับ 0.40±0.15, 0.41±0.15, 0.48±0.26 และ 0.59±0.21 มล./นาที ตามลําดับ ค่าเฉลี่ย ความเป็นกรดด่างของน้ําลายในช่วงเวลาตั้งแต่ 0-1, 1-5 และ 5-10 นาที ในระยะพักเท่ากับ 7.20±0.40, 7.20±0.38 และ 7.2010.39 หลังดื่มน้ําเท่ากับ 7.21±0.40, 7.2010.38 และ 7.19±0.38 หลังดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาลเท่ากับ 7.71±0.39, 7.42±0.38 และ 7.41±0.49 และหลังดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาลเท่ากับ 8.00±0.24, 7.65±0.26 และ 7.49±0.46 ตามลําดับ อัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายระยะพักและหลังการดื่มน้ําไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ แต่อัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายหลังการดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ําตาล สูงกว่าระยะพักและหลังการดื่มน้ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ในขณะที่อัตราการไหลและความเป็นกรดด่าง ของน้ําลายหลังการดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาลสูงกว่าระยะอื่นทุกระยะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป การดื่มชาเขียวชนิดเติมน้ําตาล กระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหล และมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นมากกว่าการดื่ม ชาเขียวชนิดปราศจากนํ้าตาล (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:11-8)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.28.1.2
First Page
11
Last Page
18
Recommended Citation
ปัญญางาม, ระวีวรรณ; ปฏิมานุเกษม, พรศรี; and ปัญญางาม, ยุทธนา
(2005)
"ผลของเครื่องดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ำตาลและชนิดเติมน้ําตาล ต่ออัตราการไหลและ ความเป็นกรดด่างของน้ำลาย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 28:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.28.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol28/iss1/2