Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2004-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างโลหะผสม 2 ชนิด เมื่อทําการยึดติดกับอะคริลิก เรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองโดยใช้วิธีการปรับสภาพผิวโลหะผสมลักษณะต่าง ๆ เพื่อนําไปประยุกต์ในการซ่อมแซมฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะ วัสดุและวิธีการ นําโลหะผสมโครบอลต์-โครเมียม (Co-Cr) และโลหะผสมไททาเนียม (Ti-6A1-7Nb) มา เหวี่ยงเป็นชิ้นตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 มม. หนา 2.5 มม. แบ่งแต่ละชนิดออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง: ไม่ได้ทําการปรับสภาพผิว(C), กรดกัด(E), เป่าทราย(S), กรด+เป่าทราย(ES), กรด+เป่าทราย+alloy primer[ESA], เป่าทราย alloy primer [SA] และ เป่าทราย + alloy primer + Panavin FSAP) จากนั้น ยึดด้วยอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. สูง 3 มม. รอ 30 นาที จนอะคริลิก เรซินแข็งเต็มที่ นําขึ้นตัวอย่างทั้งหมดไปแช่น้ําที่อุณหภูมิ 37°C นาน 24 ชม. บันทึกค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน โดยใช้เครื่อง Lloyd@ Universal Testing ที่ความเร็วหัวทดสอบ 10 มม./นาที วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ One-way ANOVA us: Independent Samples T-Test ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงพันธะเฉือนสูงสุดในกลุ่มโลหะผสมโครบอลต์-ใครเมียมคือ กลุ่ม ESA (295.61 ±8.67N) และในกลุ่มโลหะผสม Ti-6A1-7Nb คือกลุ่ม SA (299.53 ± 5.14N) สรุป จากการ กษาแนะนําว่าวิธีที่เหมาะสมสําหรับการปรับสภาพผิวโลหะผสมก่อนทําการยึดกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองในการซ่อมแซมฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะในโลหะผสม ใครบอลต์ โครเมียมคือ การ ใช้กรดกัด ร่วมกับการเป่าทรายและการทา alloy primer และในโลหะผสม Ti-6Al-7Nb คือ การเป่าทราย ร่วมกับการทา alloy primer
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.27.3.3
First Page
195
Last Page
206
Recommended Citation
แก้วปลั่ง, อรพินท์; เชี่ยวชาญ, ปณิตา; and เหลืองเรืองรอง, ผลิกา
(2004)
"เปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างโลหะผสมสองชนิดกับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองภายหลังการปรับสภาพผิวโลหะผสมด้วยวิธีการต่างๆ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 27:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.27.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol27/iss3/3