•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2004-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดความกว้างของขากรรไกรในกลุ่มที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว พร้อมทั้งเปรียบเทียบขนาดความกว้างขากรรไกรที่ศึกษาได้จากโครงสร้างใบหน้าทั้งสองแบบ วัสดุและวิธีการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพถ่ายรังสีกะโหลกศรีษะด้านข้างโดยใช้ค่าของมุมที่เกิดจากระนาบ กะโหลกศีรษะ (SN) กับระนาบขากรรไกรล่าง (MP) เป็นเกณฑ์ได้กลุ่มที่มีใบหน้าสั้น 38 คน หญิง 26 คน ชาย 12 คน) กลุ่มที่มีใบหน้ายาว 38 คน หญิง 23 คน ชาย 15 คน) สร้างแบบจําลองฟันของกลุ่มตัวอย่างนํามาวัดความ กว้างของขากรรไกรส่วนหน้าและส่วนหลังทั้งขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ตามจุดอ้างอิงของ Korkhaus ด้วยดี ไวน์เตอร์ปลายแหลม ศึกษาค่าความกว้างต่ําสุด สูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของขากรรไกรใน ใบหน้าแต่ละรูปแบบ และนําค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกัน การทดสอบทางสถิติใช้ t-test ผลการศึกษา ในกลุ่มใบหน้าสั้น มีค่าเฉลี่ยของขนาดความกว้างขากรรไกรบนส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 38,092 มม. และ 48.553 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 37.750 มม. และ 48.803 มม. ในขณะที่กลุ่ม ใบหน้ายาวขากรรไกรบนส่วนหน้า และส่วนหลังมีค่าความกว้างเป็น 36,447 มม. และ 46.842 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 36.137 มม. และ 47.263 มม. ตามลําดับ โดยค่าเฉลี่ยของขนาดขากรรไกรในใบหน้าทั้ง สองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทุกค่า (P < 0.05) ยกเว้นเมื่อแยกพิจารณาตามเพศ ในเทศหญิงถึงแม้ ค่าความกว้างทุกค่าจะแตกต่างในลักษณะเดียวกัน แต่จะมีนัยสําคัญ (P < 0.05) เฉพาะความกว้างส่วนหน้าของ ขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างเท่านั้น สรุป ขนาดความกว้างของขากรรไกรบนและล่างในคนที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นจะมีค่ามากกว่าคนที่มีโครงสร้าง ใบหน้ายาวทุกค่า

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.3

First Page

109

Last Page

116

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.