Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2004-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดความกว้างของขากรรไกรในกลุ่มที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว พร้อมทั้งเปรียบเทียบขนาดความกว้างขากรรไกรที่ศึกษาได้จากโครงสร้างใบหน้าทั้งสองแบบ วัสดุและวิธีการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพถ่ายรังสีกะโหลกศรีษะด้านข้างโดยใช้ค่าของมุมที่เกิดจากระนาบ กะโหลกศีรษะ (SN) กับระนาบขากรรไกรล่าง (MP) เป็นเกณฑ์ได้กลุ่มที่มีใบหน้าสั้น 38 คน หญิง 26 คน ชาย 12 คน) กลุ่มที่มีใบหน้ายาว 38 คน หญิง 23 คน ชาย 15 คน) สร้างแบบจําลองฟันของกลุ่มตัวอย่างนํามาวัดความ กว้างของขากรรไกรส่วนหน้าและส่วนหลังทั้งขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ตามจุดอ้างอิงของ Korkhaus ด้วยดี ไวน์เตอร์ปลายแหลม ศึกษาค่าความกว้างต่ําสุด สูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของขากรรไกรใน ใบหน้าแต่ละรูปแบบ และนําค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกัน การทดสอบทางสถิติใช้ t-test ผลการศึกษา ในกลุ่มใบหน้าสั้น มีค่าเฉลี่ยของขนาดความกว้างขากรรไกรบนส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 38,092 มม. และ 48.553 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 37.750 มม. และ 48.803 มม. ในขณะที่กลุ่ม ใบหน้ายาวขากรรไกรบนส่วนหน้า และส่วนหลังมีค่าความกว้างเป็น 36,447 มม. และ 46.842 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 36.137 มม. และ 47.263 มม. ตามลําดับ โดยค่าเฉลี่ยของขนาดขากรรไกรในใบหน้าทั้ง สองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทุกค่า (P < 0.05) ยกเว้นเมื่อแยกพิจารณาตามเพศ ในเทศหญิงถึงแม้ ค่าความกว้างทุกค่าจะแตกต่างในลักษณะเดียวกัน แต่จะมีนัยสําคัญ (P < 0.05) เฉพาะความกว้างส่วนหน้าของ ขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างเท่านั้น สรุป ขนาดความกว้างของขากรรไกรบนและล่างในคนที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นจะมีค่ามากกว่าคนที่มีโครงสร้าง ใบหน้ายาวทุกค่า
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.3
First Page
109
Last Page
116
Recommended Citation
อภิวัฒนกุล, ปิยารัตน์; เพชรคุปต์, วัชระ; สุวรรณประทีป, เกตุกัญญา; and ธัญญะกิจไพศาล, งามพร
(2004)
"ความกว้างของขากรรไกรในโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 27:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol27/iss2/3