•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2004-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการจัดคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ระหว่างแบบ ช่วงเวลาและแบบตลอดปี ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิต ทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน กลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 195 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 175 คน ประกอบด้วยนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 87 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 42 จํานวน 88 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในปีการศึกษาที่ 5 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ SPSS- PC software package ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์พบมีความแตกต่างอย่างนัยสําคัญทางสถิติของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและการ จัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในหัวข้อนิสิตรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น (p-041) นิสิตของยูนิต ล่วงหน้า เพราะเลือกอาจารย์เช็คงาน (1,003) การทําเครื่องมือให้ไร้เชื้อไม่ทันเวลาทํางาน (p-003) และการนําความรู้ทางพรี คลีนิกไปประยุกต์ใช้ในคลินิก (p-01) ส่วนหัวข้ออื่น ๆ มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างการจัดคลินิกปริ ทันตวิทยาทั้ง 2 แบบ สรุป ผลสรุปจากคําถามปลายเปิดพบว่า การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลามีข้อดี คือนิสิตสามารถให้การรักษา ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง นิสิตสามารถบริหารจัดการในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะ 2 ภาควิชาได้ง่าย และนิสิตทุ่มเทกับการปฏิบัติงานคลินิกเฉพาะวิชาอย่างเต็มที่ ข้อเสียของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา คือช่วงเวลา 12-13 สัปดาห์ไม่เหมาะสําหรับ การรักษาลักษณะองค์รวม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา และนิสิตมีความเครียดขณะทํางานที่มีเวลาจํากัด ส่วนข้อดีของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปีเป็นการรักษาผู้ป่วยในลักษณะองค์รวมในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และติดตามการรักษาในช่วงเวลาคงสภาพ นิสิตรู้จักตัดสินใจ วางแผนและการบริหารจัดการผู้ป่วย ส่วนข้อเสียของการจัดคลินิก ปริทันตวิทยาแบบตลอดปี คือจํานวนคาบเวลาทํางานต่อสัปดาห์ที่มีน้อยทําให้นิสิตนัดผู้ป่วยได้ยากขึ้น เป็นผลให้เกิด ความเครียดในการบริหารจัดการผู้ป่วย ข้อสุดท้ายคือ จํานวนคาบเวลาของนิสิตทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจํานวนชั่วโมงที่ คลินิกจะเท่ากัน ผลจากการศึกษานี้อาจใช้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการพิจารณากําหนดการจัดคลินิกโดยวิธีแบบช่วงเวลา หรือแบบตลอดปี และเป็นข้อมูลสําหรับบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการทําความเข้าใจกับระบบดังกล่าว

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.2

First Page

99

Last Page

108

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.