•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2004-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ใน เรื่องเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ส่งแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน ให้กับทันตแพทย์ที่มีรหัส เลขประจําตัวนิสิต 40 จํานวน 100 คน และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 102 คน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง2 รุ่นได้ปฏิบัติงานของคลินิกรวม และสหคลินิก โดยเฉพาะคลินิกปริทันตวิทยาในลักษณะเดียวกันในการศึกษาปีที่ 4,5 และ 6- หลังจากได้แบบสอบถามกลับคืนมา ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยการใช้ SPSS - PC software package ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 156 ฉบับ พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในหัวข้อด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก เรื่องการรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น และหัวขัดผงพิมพืชเสียง่าย ร้อยละ 36.46-40.38 สําหรับหัวข้อ ความร่วมมือของผู้ป่วย นิสิตปี 4 ปี 5 และปี 6 พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในเรื่องความไม่ร่วมมือในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน ร้อยละ 22.43, 42.95 และ 31.41 ตามลําดับ หลังจากจบการศึกษาปีที่ 4 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสมรรถนะ ของวิชาชีพ คือสามารถจุดหินน้ําลายและเกลารากฟัน สามารถตรวจหาหินน้ําลาย และสามารถสอนและชักจูงผู้ป่วยให้ดูแล อนามัยช่องปาก ในรายที่มีร่องลึกปริทันต์ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ได้มากและมากที่สุดรวมร้อยละ 30.13 ส่วนหัวข้อคุณภาพ การเรียนการสอน พบว่าร้อยละ 49.01 ของจํานวนอาจารย์ประจําที่ได้สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมทางทันตแพทย์ ร้อยละ 71.17 ของจํานวนอาจารย์พิเศษที่ตอบข้อซักถามของนิสิตให้เข้าใจได้ง่าย ส่วนหัวข้ออาจารย์ที่ไม่อธิบายเหตุผลในการเช็ค งานผ่านไม่ผ่าน มีจํานวนอาจารย์ประจําและอาจารย์พิเศษถูกประเมินน้อยสุด คือ ร้อยละ 5.60 และ 3.92 ตามลําดับ สรุป ประเด็นสําคัญในหัวข้อการบริหารจัดการในคลินิกพบว่า ภาควิชาปริทันตวิทยามีผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่มีความ รุนแรงระดับปานกลาง ในจํานวนไม่เพียงพอกับนิสิต ส่วนหัวข้อความร่วมมือของผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยไม่เข้าใจระบบการรักษา ที่ต้องนัดหลายครั้งและใช้เวลานาน รวมทั้งความเจ็บปวดจากการรักษา ผู้ป่วยไม่ให้ความสําคัญของการรักษา สําหรับหัวข้อ สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้พบว่า นิสิตสามารถทําได้ตามมาตรฐานของสมรรถนะวิชาชีพ ที่ภาควิชาปริทันตวิทยา กําหนดให้ทันตแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถรักษาผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบระดับต้นและระดับกลางที่มี ร่องลึกปริทันต์ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และหัวข้อคุณภาพการเรียนการสอนมีข้อเสนอแนะบางประเด็นเพื่อปรับปรุงการเรียนการ สอบทางคลินิก จากผลสรุปของแบบสอบถามอาจเป็นแนวทางหนึ่งสําหรับภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะกําหนดให้ ดเจนว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิตที่จบการศึกษา จะมีความสามารถในการ ประกอบวิชาชีพอย่างไร ด้วยการปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอน วิธีจัดการเรียนการสอน รวมทั้งตั้งเกณฑ์มาตรฐานของสมรรถนะวิชาชีพ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.1

First Page

87

Last Page

97

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.