Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2004-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ใน เรื่องเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ส่งแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน ให้กับทันตแพทย์ที่มีรหัส เลขประจําตัวนิสิต 40 จํานวน 100 คน และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 102 คน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง2 รุ่นได้ปฏิบัติงานของคลินิกรวม และสหคลินิก โดยเฉพาะคลินิกปริทันตวิทยาในลักษณะเดียวกันในการศึกษาปีที่ 4,5 และ 6- หลังจากได้แบบสอบถามกลับคืนมา ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยการใช้ SPSS - PC software package ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 156 ฉบับ พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในหัวข้อด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก เรื่องการรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น และหัวขัดผงพิมพืชเสียง่าย ร้อยละ 36.46-40.38 สําหรับหัวข้อ ความร่วมมือของผู้ป่วย นิสิตปี 4 ปี 5 และปี 6 พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในเรื่องความไม่ร่วมมือในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน ร้อยละ 22.43, 42.95 และ 31.41 ตามลําดับ หลังจากจบการศึกษาปีที่ 4 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสมรรถนะ ของวิชาชีพ คือสามารถจุดหินน้ําลายและเกลารากฟัน สามารถตรวจหาหินน้ําลาย และสามารถสอนและชักจูงผู้ป่วยให้ดูแล อนามัยช่องปาก ในรายที่มีร่องลึกปริทันต์ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ได้มากและมากที่สุดรวมร้อยละ 30.13 ส่วนหัวข้อคุณภาพ การเรียนการสอน พบว่าร้อยละ 49.01 ของจํานวนอาจารย์ประจําที่ได้สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมทางทันตแพทย์ ร้อยละ 71.17 ของจํานวนอาจารย์พิเศษที่ตอบข้อซักถามของนิสิตให้เข้าใจได้ง่าย ส่วนหัวข้ออาจารย์ที่ไม่อธิบายเหตุผลในการเช็ค งานผ่านไม่ผ่าน มีจํานวนอาจารย์ประจําและอาจารย์พิเศษถูกประเมินน้อยสุด คือ ร้อยละ 5.60 และ 3.92 ตามลําดับ สรุป ประเด็นสําคัญในหัวข้อการบริหารจัดการในคลินิกพบว่า ภาควิชาปริทันตวิทยามีผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่มีความ รุนแรงระดับปานกลาง ในจํานวนไม่เพียงพอกับนิสิต ส่วนหัวข้อความร่วมมือของผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยไม่เข้าใจระบบการรักษา ที่ต้องนัดหลายครั้งและใช้เวลานาน รวมทั้งความเจ็บปวดจากการรักษา ผู้ป่วยไม่ให้ความสําคัญของการรักษา สําหรับหัวข้อ สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้พบว่า นิสิตสามารถทําได้ตามมาตรฐานของสมรรถนะวิชาชีพ ที่ภาควิชาปริทันตวิทยา กําหนดให้ทันตแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถรักษาผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบระดับต้นและระดับกลางที่มี ร่องลึกปริทันต์ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และหัวข้อคุณภาพการเรียนการสอนมีข้อเสนอแนะบางประเด็นเพื่อปรับปรุงการเรียนการ สอบทางคลินิก จากผลสรุปของแบบสอบถามอาจเป็นแนวทางหนึ่งสําหรับภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะกําหนดให้ ดเจนว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิตที่จบการศึกษา จะมีความสามารถในการ ประกอบวิชาชีพอย่างไร ด้วยการปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอน วิธีจัดการเรียนการสอน รวมทั้งตั้งเกณฑ์มาตรฐานของสมรรถนะวิชาชีพ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.1
First Page
87
Last Page
97
Recommended Citation
เตชะประเสริฐวิทยา, ชนินทร์ and จรัสกุลางกูล, อรวรรณ
(2004)
"การเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 27:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.27.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol27/iss2/1