•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2004-01-01

Abstract

การคึกษาครั้งนี้เพื่อหาความกว้างเฉลี่ยในแนวใกล้แก้มถึงใกล้ลิ้นของสันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่างและหาความสัมพันธ์ของความกว้างเฉลี่ยกับอายุหรือเพศในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง ทําการศึกษาโดยใช้ชิ้นหล่อวินิจฉัยของผู้ป่วยในภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างปี พ.ศ. 2536-40 จํานวน 113 คู่ เป็นชาย 45 คน หญิง 68 คน มีอายุเฉลี่ย 42.98 ปี มาวัดโดยใช้ Boyley sliding caliper จากระดับจุดสูงสุดของสั่นเหงือกลงมาทางปลายรากฟันเป็นระยะ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตร ตามลําดับ ในแต่ละตําแหน่งทําการวัด 2 ครั้งโดยผู้ทําการศึกษาคนละครั้งซึ่งแต่ละครั้งวัด 3 จุด คือจุดที่คาดว่า เป็นกึ่งกลางของฟันที่หายไปกับระยะหน้าและหลังต่อจุดนี้ 2 มิลลิเมตรหาค่าเฉลี่ยความกว้างแล้วหักออกด้วยความ หนาเฉลี่ยของเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมในแต่ละบริเวณซึ่งดัดแปลงมาจากรายงานที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าความ กว้างเฉลี่ยของสันกระดูกขากรรไกรว่างที่ระดับ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตรในแต่ละบริเวณมีค่าดังนี้ ฟันหน้าบนมีค่า 5.05± 1.35, 5.02 ±1.45 และ 6.76±1.51 มิลลิเมตร ฟันหลังบนขวามีค่า 7.30 ± 2.27, 8.80 ± 2.40 และ 10.03 ± 2.42 มิลลิเมตร ฟันหลังบนซ้ายมีค่า 6.98 ±1.93, 8.10 ±2.24 และ 8.68 ±2.48 มิลลิเมตร ฟันหน้าล่างมีค่า 4.54 ±1.46, 5.70±0.70 และ 5.97 ±0.19 มิลลิเมตร พื้นหลังล่างขวามีค่า 7.10 ±1.87, 8.01±1.78 และ 8.76 ±1.61 มิลลิเมตรและฟันหลังล่างซ้ายมีค่า 6.45 ±1.66, 7.32±1.68 และ 8.18±1.77 มิลลิเมตร ตามลําดับ เมื่อนาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ two-way ANOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญ (p<0.05)ของความกว้างเฉลี่ยสันกระดูกขากรรไกรว่างที่บริเวณเดียวกันระหว่างเพศและอายุยุ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.7

First Page

69

Last Page

85

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.