Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2004-01-01
Abstract
การคึกษาครั้งนี้เพื่อหาความกว้างเฉลี่ยในแนวใกล้แก้มถึงใกล้ลิ้นของสันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่างและหาความสัมพันธ์ของความกว้างเฉลี่ยกับอายุหรือเพศในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง ทําการศึกษาโดยใช้ชิ้นหล่อวินิจฉัยของผู้ป่วยในภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างปี พ.ศ. 2536-40 จํานวน 113 คู่ เป็นชาย 45 คน หญิง 68 คน มีอายุเฉลี่ย 42.98 ปี มาวัดโดยใช้ Boyley sliding caliper จากระดับจุดสูงสุดของสั่นเหงือกลงมาทางปลายรากฟันเป็นระยะ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตร ตามลําดับ ในแต่ละตําแหน่งทําการวัด 2 ครั้งโดยผู้ทําการศึกษาคนละครั้งซึ่งแต่ละครั้งวัด 3 จุด คือจุดที่คาดว่า เป็นกึ่งกลางของฟันที่หายไปกับระยะหน้าและหลังต่อจุดนี้ 2 มิลลิเมตรหาค่าเฉลี่ยความกว้างแล้วหักออกด้วยความ หนาเฉลี่ยของเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมในแต่ละบริเวณซึ่งดัดแปลงมาจากรายงานที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าความ กว้างเฉลี่ยของสันกระดูกขากรรไกรว่างที่ระดับ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตรในแต่ละบริเวณมีค่าดังนี้ ฟันหน้าบนมีค่า 5.05± 1.35, 5.02 ±1.45 และ 6.76±1.51 มิลลิเมตร ฟันหลังบนขวามีค่า 7.30 ± 2.27, 8.80 ± 2.40 และ 10.03 ± 2.42 มิลลิเมตร ฟันหลังบนซ้ายมีค่า 6.98 ±1.93, 8.10 ±2.24 และ 8.68 ±2.48 มิลลิเมตร ฟันหน้าล่างมีค่า 4.54 ±1.46, 5.70±0.70 และ 5.97 ±0.19 มิลลิเมตร พื้นหลังล่างขวามีค่า 7.10 ±1.87, 8.01±1.78 และ 8.76 ±1.61 มิลลิเมตรและฟันหลังล่างซ้ายมีค่า 6.45 ±1.66, 7.32±1.68 และ 8.18±1.77 มิลลิเมตร ตามลําดับ เมื่อนาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ two-way ANOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญ (p<0.05)ของความกว้างเฉลี่ยสันกระดูกขากรรไกรว่างที่บริเวณเดียวกันระหว่างเพศและอายุยุ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.7
First Page
69
Last Page
85
Recommended Citation
อากีลาร์', ภาณุรุจ; เฉียงตะวัน, วุฒิธิชา; and แก้วปลั่ง, อรพินท์
(2004)
"สันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่าง ของประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 27:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol27/iss1/7