•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2004-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันและเนื้อเยื่อเหงือก วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ และสารสกัดส่วนวันที่ถูกทําให้ แห้ง ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดจํานวนเซลล์ด้วยสารเอ็มทีทีและวิเคราะห์ ทางสถิติแบบ One way ANOVA (α < 0.05) ผลการศึกษา สารสกัดส่วนวันที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5, 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้น การเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโทรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ที่ความเข้มข้นของโปรตีน 50, 100 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์ สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยี่ยโพรงฟัน และสารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเชือกแข็งที่ความ เข้มข้นของโปรตีน 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยก จากเนื้อเยี่ยเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัด ส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยียกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์และเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อโพรงฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.5

First Page

47

Last Page

57

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.