Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2004-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อรายงานความชุกของฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในฟันกรามน้อย อายุที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรก เริ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับการสึกของปุ่มนูนและระหว่างความชุกของฟันที่มีเตนส์ แวจิเนสในฟันกรามน้อยกับเพศ วัสดุและวิธีการเก็บข้อมูลจากเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนราชวินิตบางแคปานขํา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,141 คน โดยการตรวจฟันกรามน้อยและบันทึกข้อมูลสถานะของฟันกรามน้อย นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for windows ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ความชุกของฟันเดนส์ แวจีเนทัสในฟันกรามน้อยในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน 1,141 คน พบเด็กนักเรียนที่มีฟันเดนส์ แวจิเนส จํานวน 21 คน เท่ากับ ร้อยละ 1.8 พบในฟันกรามน้อยล่างมากกว่าฟัน กรามน้อยบน ฟันล่างพบในฟันกรามน้อยที่ 2 มากกว่าฟันกรามน้อยที่ 1 ส่วนฟันบนพบในฟันกรามน้อยที่ 1 มากกว่าฟันกรามน้อย 2 พบตําแหน่งของปุ่มนูนที่ร่องกลางฟันมากกว่าบนสันด้านลิ้น ปุ่มนูนส่วนใหญ่มีการสึก ไม่เผยพึ่งถึงเนื้อเยื่อฟัน เพศชายกับเพศหญิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ พบในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มาก ที่สุดโดยที่ในช่วงอายุ 11-12 ปี มากกว่าช่วง 13-17 ปี อย่างมีนัยสําคัญ (P = 0.004) สรุป ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดการดูแลฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในฟันกรามน้อยควรเป็นอายุ 12 ปี เพื่อเป็นการป้องกันพยาธิสภาพที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการที่ปุ่มนูนของฟันที่มีความผิดปกตินี้สึกหรือหักอันอาจนํามาซึ่งรอยโรครอบปลายรากฟัน ทันตแพทย์จึงควรเข้าไปตรวจ ติดตามดูแลตั้งแต่ยังไม่ปรากฏอาการและทําการป้องกันใน ช่วงอายุที่ฟันกรามน้อยเพิ่งเริ่มขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.2
First Page
9
Last Page
17
Recommended Citation
สุขอร่าม, ศิวพร
(2004)
"ความชุกของฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 27:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.27.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol27/iss1/2