•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2003-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว (masticatory efficiency) มีความสําคัญอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลงซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ฟันปลอม การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงจึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งโดยทั่วไป ทันตแพทย์มักใช้วิธีการประเมินโดยการสอบถามจากผู้ป่วยซึ่งมิได้ให้ผลอ้างอิงที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุโดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการบดเคี้ยว (masticatory ability) ซึ่งเป็นการสอบถามจากผู้ป่วย และการแสดงการบดเคี้ยว (mas-ticatory performance) ซึ่งเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ว่าให้ผลไปในทางเดียวกันหรือไม่ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) ที่มารับบริการใส่ฟันปลอมในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ จํานวน 62 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากในขากรรไกรบนและล่าง (18 คน) กลุ่มที่สอง คือผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบางส่วน ถอดได้สบกับฟันปลอมบางส่วนถอดได้หรือฟันปลอมทั้งปาก (29 คน) และกลุ่มที่สามคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบาง ส่วนถอดได้สบกับฟันธรรมชาติ (15 คน) การทดสอบความสามารถในการบดเคี้ยวทําโดยการประเมินความพึง พอใจในการเคี้ยวอาหารของผู้ป่วยหลังใส่ฟันปลอมจากการตอบคําถาม ส่วนการแสดงการบดเคี้ยวทําโดยการวัด ความละเอียดของอาหารที่เคี้ยวด้วยวิธีร่อนอาหารผ่านตะแกรงโดยให้ผู้ป่วยเคี้ยวแครอทหนึ่งชิ้น (น้ําหนัก 3 กรัม) จํานวน 40 ครั้ง นํามาผ่านตะแกรงชนิดหยาบและละเอียด ตามลําดับ จากนั้นจึงพึ่งให้แห้ง ชั่งน้ําหนัก และ คํานวณการแสดงการบดเคี้ยว นําข้อมูลมาที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการบดเคี้ยวกับการแสดงการบดเคี้ยวทางสถิติโดยใช้การทดสอบ ไค-สแควร์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โดยใช้เกณฑ์ การแสดงการบดเคี้ยวตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปถือว่ามีประสิทธิภาพดี ผลการศึกษา การศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างของการแสดงการบดเคี้ยวในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมประเภท ต่าง ๆ กัน ทั้ง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญ และความสามารถในการบดเคี้ยวไม่มีความสัมพันธ์กับการแสดงการบดเคี้ยว สรุป ทันตแพทย์ไม่ควรประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมจากการสอบถามผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ควรทําการ ทดสอบเพื่อให้เห็นถึงความสามารถของฟันปลอมในการใช้บดเคี้ยวอาหารอย่างแท้จริง

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.5

First Page

211

Last Page

220

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.