Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2003-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว (masticatory efficiency) มีความสําคัญอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลงซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ฟันปลอม การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงจึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งโดยทั่วไป ทันตแพทย์มักใช้วิธีการประเมินโดยการสอบถามจากผู้ป่วยซึ่งมิได้ให้ผลอ้างอิงที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุโดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการบดเคี้ยว (masticatory ability) ซึ่งเป็นการสอบถามจากผู้ป่วย และการแสดงการบดเคี้ยว (mas-ticatory performance) ซึ่งเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ว่าให้ผลไปในทางเดียวกันหรือไม่ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) ที่มารับบริการใส่ฟันปลอมในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ จํานวน 62 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากในขากรรไกรบนและล่าง (18 คน) กลุ่มที่สอง คือผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบางส่วน ถอดได้สบกับฟันปลอมบางส่วนถอดได้หรือฟันปลอมทั้งปาก (29 คน) และกลุ่มที่สามคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบาง ส่วนถอดได้สบกับฟันธรรมชาติ (15 คน) การทดสอบความสามารถในการบดเคี้ยวทําโดยการประเมินความพึง พอใจในการเคี้ยวอาหารของผู้ป่วยหลังใส่ฟันปลอมจากการตอบคําถาม ส่วนการแสดงการบดเคี้ยวทําโดยการวัด ความละเอียดของอาหารที่เคี้ยวด้วยวิธีร่อนอาหารผ่านตะแกรงโดยให้ผู้ป่วยเคี้ยวแครอทหนึ่งชิ้น (น้ําหนัก 3 กรัม) จํานวน 40 ครั้ง นํามาผ่านตะแกรงชนิดหยาบและละเอียด ตามลําดับ จากนั้นจึงพึ่งให้แห้ง ชั่งน้ําหนัก และ คํานวณการแสดงการบดเคี้ยว นําข้อมูลมาที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการบดเคี้ยวกับการแสดงการบดเคี้ยวทางสถิติโดยใช้การทดสอบ ไค-สแควร์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โดยใช้เกณฑ์ การแสดงการบดเคี้ยวตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปถือว่ามีประสิทธิภาพดี ผลการศึกษา การศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างของการแสดงการบดเคี้ยวในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมประเภท ต่าง ๆ กัน ทั้ง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญ และความสามารถในการบดเคี้ยวไม่มีความสัมพันธ์กับการแสดงการบดเคี้ยว สรุป ทันตแพทย์ไม่ควรประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมจากการสอบถามผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ควรทําการ ทดสอบเพื่อให้เห็นถึงความสามารถของฟันปลอมในการใช้บดเคี้ยวอาหารอย่างแท้จริง
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.5
First Page
211
Last Page
220
Recommended Citation
ชาลินี, ปรารมภ์; อนุสสรนิติสาร, สุภิดา; ประดับพลอย, ดุษฎี; วรรธนะเลาหะ, เกรียงไกร; ประพิณจารูญ, ชาญวิทย์; and ธีระเรืองไชยศรี, ชุติมา
(2003)
"การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมโดยการศึกษา ความสัมพันธ์ของความสามารถในการบดเคี้ยวและ การแสดงการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 26:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol26/iss3/5