Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2003-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบเสถียรภาพของลีเฟลสปาติกพอร์ซเลน วิต้า โอเมก้า 900 ที่ขัดผิวด้วย วิธีต่างๆ 3 วิธี และการเคลือบผิวแบบธรรมชาติ วัสดุและวิธีการ โดยเตรียมชิ้นงานพอร์ซเลน เป็นแผ่นรูปวงกลม จํานวน 80 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 20 ชิ้นนํา ไปเคลือบผิวแบบธรรมชาติ และขัดผิว 3 วิธี (หัวขัดเซราไหล, ชุดหัวขัดโซฟูและครีมขัดผสมกากเพชร, ชุดหัวขัดใช และหัวขัดไตฟินิช) ประเมินเสถียรภาพของสีตามข้อกําหนดเลขที่ 69 ว่าด้วยเซรามิกทางทันตกรรมของสมาคม ทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งชิ้นงานในแต่ละกลุ่ม 10 ชิ้น จุ่มในสารละลายเมทธิลีนบลู อีก 10 ชิ้น จุ่มใน น้ํากลั่นเพื่อเป็นกลุ่มควบคุม วัดค่าสีในระบบสี ไฮยี ก่อนและหลังจุ่มสารละลายด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ นํามาคํานวณค่าความแตกต่างของสี ประเมินความเรียบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และเปรียบเทียบความแตกต่างของสีของแต่ละกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา กลุ่มที่เคลือบผิวแบบธรรมชาติให้ผิวเรียบที่สุดและมีเสถียรภาพของสีดีที่สุด การขัดผิวด้วยชุดหัวขัด โซฟและหัวขัดไตฟินิชให้ผิวที่เรียบกว่าวิธีอื่นและมีเสถียรภาพของสีไม่แตกต่างจากการขัดด้วยชุดหัวขัดโชฟุ และครีม ผสมกากเพชร (p > 0.05) สรุป การเปลี่ยนสีของชุดหัวขัดใชฟและหัวขัดไตฟินิชนั้นสามารถยอมรับได้ทางคลินิก แต่กลุ่มที่ขัดผิวด้วยหัวขัด เซราไพลมีการเปลี่ยนสีที่สามารถสังเกตเห็นได้ โดยความแตกต่างของสีมากกว่าทุกกลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < 0.05)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.4
First Page
201
Last Page
209
Recommended Citation
แสนทวีสุข, วัลลภัทน์ and บุญศิริ, อิศราวัลย์
(2003)
"การเปรียบเทียบเสถียรภาพของสีของเฟลสปาติกพอร์ซเลนที่ขัดผิวด้วยวิธีต่าง ๆ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 26:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol26/iss3/4