Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2003-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทําซ้ํา (reproducibility) ของการเอียงของศีรษะ (head orientation)ในท่านั่งและยืนโดยใช้และไม่ใช้กระจกเพื่อช่วยกําหนดแนวสายตา วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครคือนิสิตทันตแพทย์จํานวน 3 คน เพศชาย 13 คน หญิง 25 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 2ปี 1 เดือน ทําการถ่ายภาพหน้าด้านข้างด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยใช้สภาวะแวดล้อมเดียวกันใน 4 ลักษณะคือ 1) นั่งหลังตรง มองตรง 2) นั่งหลังตรง มองตรงและใช้กระจกกําหนดระดับแนวสายตา 3) ยืนตัวตรง มองตรง 4) ยืน ตัวตรง มองตรงและใช้กระจกกําหนดระดับแนวสายตา ทําการถ่ายภาพทั้ง 4 ลักษณะจํานวน 2 ครั้งในระยะเวลา ที่ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ภาพดิจิตอลทั้งหมดจะถูกนํามาวัดค่ามุมระหว่าง Glabella-Subnasale Line (GSL) และ True Vertical Line (TVL) ด้วยโปรแกรม Photoshop 7.0 โดยมุมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นตัวแทนของการเชียง องศีรษะของกลุ่มอาสาสมัคร ผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญระหว่างมุม GSL-TVL ที่ได้จากการถ่ายภาพ ทั้งสองครั้งในทั้ง 4 ลักษณะ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของมุม GSL-TVL ระหว่างการถ่ายภาพครั้งที่หนึ่งและสองในท่านั่ง ท่านั่งมองกระจก ท่ายืนและท่ายืนมองกระจกเท่ากับ 1.16 0.50 0.14 และ 0.13 องศาตามลําดับ และมีค่า method error เท่ากับ 2.00 2.05 2.78 และ 3.46 องศาตามลําาดับ สรุป การเอียงของศีรษะในท่ายืนมีแนวโน้มที่จะทําซ้ําได้ง่ายกว่าท่านั่ง ศีรษะมีแนวโน้มที่จะเงยในท่านั่งมากกว่าในท่ายืนและการใช้กระจกกําหนดแนวสายตาอาจมีผลทําให้การทําซ้ําของการเอียงของศีรษะในท่านั่งเป็นไปได้ง่ายขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.3
First Page
193
Last Page
199
Recommended Citation
เตชะเลิศไพศาล, ไพบูลย์; วราอุบล, ชัยวัฒน์; and ติงธนากุล, สัมพันธ์
(2003)
"ความสามารถในการทําซ้ําของการเอียงของศีรษะในท่านั่งและยืน เมื่อมองตรงไปด้านหน้าโดยใช้หรือ ไม่ใช้กระจกกำหนดแนวสายตา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 26:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.26.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol26/iss3/3