•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2003-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลของอุบัติการและรูปแบบของการสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุ และเพื่อหาความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบประชากร กษาและวิธีการ การศึกษาทําในผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 60 ปีหรือมากกว่า จํานวน 510 คน โดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคทางระบบ และ ตรวจช่องปากบันทึกซี่ฟันที่หายไป ผลการศึกษา อุบัติการของการสูญเสียฟัน ภาวะสูญเสียฟันทั้งปาก และจํานวนพื้นที่หายไปเพิ่มตามอายุที่สูงขึ้น - อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (83.1%) มีฟันหายไปอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ 12.5% ของผู้ สูงอายุไม่มีฟันทั้งปาก ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปในผู้สูงอายุจํานวน 510 คน คือ 16.7 ต่อคน ไม่พบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไประหว่างเพศ พบว่าฟันที่หายไปบ่อยที่สุดคือ ฟันกรามใหญ่ ฟันที่หายไปน้อยที่สุดคือ ฟันเขี้ยว ค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างในช่องปากของผู้สูงอายุ 136 คนคือ 2.3 รากต่อคน พบรากฟันเหลือค้าง ในขากรรไกรบนมากกว่าขากรรไกรล่าง ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการและค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างระหว่างเพศและอายุ ผู้สูงอายุจํานวน 421 คนมีโรคทางระบบอย่างน้อยหนึ่งชนิด ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปใน ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคใด ๆ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสูญเสียฟันทั้งปากกับการที่มีโรคทางระบบสรุป การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาอื่น ๆ ที่รายงานว่าอุบัติการของการสูญเสียฟันและจํานวนพื้นที่หายไปสูงใน ผู้สูงอายุ และแปรตามอายุที่สูงขึ้น แต่การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.26.1.7

First Page

61

Last Page

71

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.