Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2003-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลของอุบัติการและรูปแบบของการสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุ และเพื่อหาความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบประชากร กษาและวิธีการ การศึกษาทําในผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 60 ปีหรือมากกว่า จํานวน 510 คน โดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคทางระบบ และ ตรวจช่องปากบันทึกซี่ฟันที่หายไป ผลการศึกษา อุบัติการของการสูญเสียฟัน ภาวะสูญเสียฟันทั้งปาก และจํานวนพื้นที่หายไปเพิ่มตามอายุที่สูงขึ้น - อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (83.1%) มีฟันหายไปอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ 12.5% ของผู้ สูงอายุไม่มีฟันทั้งปาก ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปในผู้สูงอายุจํานวน 510 คน คือ 16.7 ต่อคน ไม่พบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไประหว่างเพศ พบว่าฟันที่หายไปบ่อยที่สุดคือ ฟันกรามใหญ่ ฟันที่หายไปน้อยที่สุดคือ ฟันเขี้ยว ค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างในช่องปากของผู้สูงอายุ 136 คนคือ 2.3 รากต่อคน พบรากฟันเหลือค้าง ในขากรรไกรบนมากกว่าขากรรไกรล่าง ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการและค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างระหว่างเพศและอายุ ผู้สูงอายุจํานวน 421 คนมีโรคทางระบบอย่างน้อยหนึ่งชนิด ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปใน ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคใด ๆ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสูญเสียฟันทั้งปากกับการที่มีโรคทางระบบสรุป การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาอื่น ๆ ที่รายงานว่าอุบัติการของการสูญเสียฟันและจํานวนพื้นที่หายไปสูงใน ผู้สูงอายุ และแปรตามอายุที่สูงขึ้น แต่การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.26.1.7
First Page
61
Last Page
71
Recommended Citation
เจนกิตติวงศ์, อารีย์
(2003)
"การสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 26:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.26.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol26/iss1/7