Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2002-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการแตกตัวของฟลูออไรด์ที่เติมลงในนมชนิดธรรมดา นมชนิดแคลเซียมสูง และนม เปรี้ยวซึ่งมีความเป็นกรดสูง วัสดุและวิธีการ สุ่มผลิตภัณฑ์นมที่มีจําหน่ายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และนมเปรี้ยว จํานวน 10, 5 และ 11 ผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ วัดความเป็นกรด-ด่างและปริมาณฟลูออไรด์ตั้งต้นในตัวอย่างนม โดยใช้พีเอชอีเล็คโทรดและฟลูออไรด์อิเล็คโทรด แบ่งนมจํานวน 100 มล เติมฟลูออไรด์ 0.5 มก แล้ววัดปริมาณ ฟลูออไรด์และคํานวณร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์และค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณฟลูออไรต์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาระหว่างนมแต่ละชนิดด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา นมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และนมเปรี้ยว มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 6,470 + 0.086, 6.676 + 0.125 และ 3.869 + 0.121 และมีปริมาณฟลูออไรด์ตั้งต้นเท่ากับ 0.108 ± 0.034, 0.157 ± 0.149 และ 0.314 + 0.140 ส่วนในล้านส่วน ตามลําดับ ภายหลังการเติมฟลูออไรต์ 0.5 มก พบว่านมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และ นมเปรี้ยวมีค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาเท่ากับ 21.36 + 6.67, 13.43 + 10.94 และ 25.70 + 12.78 ตามลําดับ การทดสอบทางสถิติ พบว่า นมแคลเซียมสูงมีร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออน อิสระที่ปล่อยออกมาน้อยกว่านมธรรมดาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่นมเปรี้ยวมีร้อยละของปริมาณ ฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาไม่แตกต่างจากนมธรรมดาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป ผลิตภัณฑ์นมชนิดแคลเซียมสูงมีผลทําให้ฟลูออไรด์ที่เติมลงไปแตกตัวได้น้อยลง ในขณะที่ความเป็นกรดของนมไม่มีผลต่อการแตกตัวของฟลูออไรด์
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.25.3.6
First Page
211
Last Page
216
Recommended Citation
ปฏิมานุเกษม, พรศรี; ปัญญางาม, ยุทธนา; เกษประเสริฐ, ชนัญญา; and สุระประเสริฐ, พธู
(2002)
"ผลของแคลเซียมและความเป็นกรดของนมต่อการแตกตัวของฟลูออไรด์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 25:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.25.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol25/iss3/6