•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2002-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปาก (TP) และที่ขากรรไกรล่าง (TM) กับจํานวนฟันในคนไทยกลุ่มหนึ่ง วัสดุและวิธีการ ท่าการตรวจช่องปากคนไทย จํานวน 1,350 คน ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสํารวจการปรากฏของ TP และ TM ร่วมกับการบันทึกจํานวนฟัน เพศ และอายุ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม อายุ คือ 13-19, 20-29, 30-39, 40-49, 50-59 และ 60 ปีขึ้นไป ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของ กระดูกทอรัสทั้งสองกับจํานวนฟันด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจํานวนฟันของคนที่พบและไม่พบ กระดูกทอรัสทั้งสอง วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบแมนน์ วิทนีย์ยู ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันบนในคนที่พบและไม่พบ TP ไม่แตกต่างกัน (p = 0.974) ส่วน ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่ามากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p = 0.001) เมื่อศึกษาในแต่ละเพศ ปรากฏว่าเฉพาะในเพศชายเท่านั้นที่ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่ามากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p = 0.010) ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าจํานวนฟันที่สูญเสียไปในเพศชายที่พบ TM น้อยกว่าในเพศชายที่ไม่พบ TM (p = 0.010) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันบนแตกต่างกันในคนที่พบและไม่พบ TP เฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่า มากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p < 0.05) ยกเว้นในกลุ่มอายุ 40-49 ปี สรุป พบความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่ขากรรไกรล่างกับจํานวนฟันล่างในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในเพศชาย

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.25.3.5

First Page

203

Last Page

209

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.