•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2002-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักและเปรียบเทียบความแข็งแรงของวัสดุฐานฟันปลอม อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน และชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี เมื่อมีการสูญเสียความชื้นและการดูด ซับน้ําหลังจากสูญเสียความชื้นในระยะเวลาต่างๆ กัน วัสดุและวิธีการ ทําชิ้นทดสอบโดยใช้อะครีลิกเรซิน (Howmedica) ชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีและชนิดบ่มตัวด้วย ความร้อนขนาด 10x65x2.5 มิลลิเมตร ชนิดละ 50 ชิ้น นําชิ้นทดสอบชนิดละ 25 ขึ้นไปทดสอบการสูญเสีย ความชื้นด้วยเครื่องดูดสุญญากาศที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 7 ชั่วโมง และ 14 ชั่วโมง ตามลําดับ และอีก 25 ชิ้น ไปทดสอบการดูดซับน้ําโดยนําไปดูดความชื้นก่อนเป็นเวลา 7 ชั่วโมงแล้วจึงนําไปแช่น้ําที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 1 วัน และ 8 วัน ตามลําดับ แล้วนําไปหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักและหาค่ากําลังตัดขวางรวมทั้ง ค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักโดยเครื่องทดสอบสากล (Lloyd Universal testing machine รุ่น LR 10 K) จาก นั้นท่าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แมนวิทนีย์ ยู เทสต์ (Mann-whitney U test) และคริสคัลวัลลิส เทสต์ (Kruskal- Wallis test) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติจากการสูญเสียความชื้นและการดูดซับน้ําของอะครีลิกเรซินทั้งสองชนิด พบว่า อะครีลิกเรซินชนิดนุ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงน้ําหนักได้มากกว่าชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน และยังมีค่ากําลังตัดขวางรวมทั้งมีความสามารถในการดัดงอก่อนหักน้อยกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนอย่างมีนัยสําคัญ การสูญเสียความชื้นของอะครีลิกเรซินทั้งสองชนิดจะทําให้ค่ากําลังตัดขวางเพิ่มขึ้นและมีค่า ความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลง แต่หากมีการสูญเสียความชื้นก่อนแล้วนําไปแช่น้ําเพื่อให้มีการดูดซับน้ำเข้าไป จะทําให้มีค่ากําลังตัดขวางลดลงและมีค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวปฏิกิริยาเคมีมีอัตราการดูดซับน้ํามากกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.25.2.7

First Page

131

Last Page

137

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.