Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2002-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ต้องการทราบว่า ประสบการณ์ด้านวิชาชีพทันตแพทย์และเพศในบุคลากรวิชาชีพ ทันตแพทย์มีผลต่อความสามารถในการแยกความเอียงระหว่างระนาบตาดํา ออกจากระนาบการสบฟันหน้าบน หรือไม่ ผลของการศึกษาจะเป็นแนวทางในการจัดทําระนาบของแท่นกัด วัสดุและวิธีการ ทําการเก็บข้อมูลจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 6 อาจารย์และทันตแพทย์ ในคณะทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมทั้งสิ้น 150 คน โดยให้กลุ่มทดลองดูรูปภาพตัวอย่างซึ่งแต่ละรูปจะมีความเอียง ระหว่างระนาบของตาดํา กับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้งสองข้างต่างกัน รูปละ 10 วินาที และตอบคําถามในแต่ละ รูปว่า ระนาบของตาดําขนานกับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้งสองข้างหรือไม่ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดย ใช้ one-way ANOVA และ two sample independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่าความสามารถในการแยกความเอียงระหว่าง ระนาบของตาดํากับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้ง สองข้าง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มการทดลอง สรุป ประสบการณ์และเพศ ไม่มีผลต่อการแยกความเอียงระหว่างระนาบตาดําและระนาบการสบฟันหน้าบน ใน บุคลากรวิชาชีพทันตแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.25.2.6
First Page
119
Last Page
129
Recommended Citation
ถกลภักดี, ชัยสุรัติ; วชิรศรีสุนทรา, ญาดา; and นามะโน, สรรพัชญ์
(2002)
"ความสามารถในการแยกความเอียงของระนาบสบฟัน จากระนาบตาดําในบุคลากรวิชาชีพทันตแพทย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 25:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.25.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol25/iss2/6