Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2002-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการหลั่งน้ําลายและค่าความเป็นกรดด่างของน้ําลายภายหลัง การกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง วัสดุและวิธีการ การทดสอบทําในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 16 คน โดยใช้หมากฝรั่งที่มีจําหน่ายในตลาด ประเทศไทย 5 ชนิด ได้แก่ หมากฝรั่งเคล็ท สละไซเตอร์ เดนทีน บลูเบอรี่ เดนทีน เมนโทลิปตัส ล็อตเต บลูเบอรี่ และล็อตเต้ คูลมินท์ บันทึกอัตราการหลั่งน้ําลายและค่าความเป็นกรดด่างของน้ําลายระยะที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และระยะกระตุ้นจากการเคี้ยวหมากฝรั่งแต่ละครั้ง ผลการศึกษา อัตราการหลั่งน้ําลายภายหลังการกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่งทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) โดยอัตราการหลั่งน้ําลายเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7 เท่า หมากฝรั่งเดนทีน บลูเบอรี่ กระตุ้นน้ําลายได้มาก ที่สุด รองลงมาคือหมากฝรั่ง เคล็ท สละไซเดอร์ หมากฝรั่งทุกชนิดเพิ่มความเป็นกรดของน้ําลายระยะกระตุ้นอย่าง มีนัยสําคัญ โดยหมากฝรั่งเดนทีน บลูเบอรี่ เพิ่มความเป็นกรดในน้ําลายมากที่สุด (21.1%) รองลงมาคือ หมากฝรั่ง เคล็ท สละไซเดอร์ (18.3%) และเพิ่มมากกว่าหมากฝรั่งอีก 3 ชนิดอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งมีประโยชน์ในการกระตุ้นการหลั่งน้ําลาย แต่หมากฝรั่งทุกชนิด ที่ใช้ในการทดสอบเพิ่มความเป็นกรดในน้ําลาย ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะแนะนําให้ใช้หมากฝรั่งที่มีน้ําตาลกระตุ้น น้ําลายในผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.25.2.4
First Page
103
Last Page
111
Recommended Citation
เจนกิตติวงศ์, อารีย์; พิพิธพัฒนากร, ชลธิชา; จิตติวัฒนพงศ์, นิศา; and เจริญพงศ์, หทัยชนก
(2002)
"อัตราการหลั่งของน้ําลาย และค่าความเป็นกรดด่างของน้ำลายภายหลังการกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 25:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.25.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol25/iss2/4