Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-09-01
Abstract
ทันตแพทย์ได้มีการใช้วัสดุฉาบฐานชนิดนุ่มและวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อในงานทันตกรรมมาเป็นเวลานาน หลายทศวรรษ อาจกล่าวได้ว่าวัสดุเหล่านี้มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม คืนตัว และมีสภาพยืดหยุ่นที่ดี โดยจะก่อตัวเป็นชั้น กันกระแทกระหว่างฐานฟันปลอมอะคริลิกกับเนื้อเยื่อที่รองรับข้างใต้ โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งวัสดุนี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นวัสดุฉาบฐานชนิดนุ่มแบบชั่วคราวซึ่งรวมถึงวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อซึ่งโดยพื้นฐาน แล้วมักจะประกอบไปด้วยพอลิเอทิลเมทาคริเลต เอสเทอร์หอมและเอทิลแอลกอฮอล์ ในกลุ่มที่สองเป็นพวกวัสดุฉาบ ฐานชนิดนุ่มแบบกึ่งถาวรอันมีองค์ประกอบโดยพื้นฐานจําพวกซิลิโคนหรืออะคริลิกเรซิน ได้มีการศึกษาและพัฒนาถึงคุณสมบัติที่มีประโยชน์ของวัสดุนี้ในงานวิจัยหลายด้าน ในบทความนี้ประสงค์ที่จะกล่าวทบทวนถึงประวัติความ เป็นมา คุณสมบัติที่สําคัญ ข้อบ่งชี้ในการใช้ตลอดจนงานวิจัยในระยะนี้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกลุ่มนี้โดยเฉพาะเกี่ยวกับ ด้านการดูดซับและกระจายแรงสู่เนื้อเยื่อที่รองรับข้างใต้
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.8
First Page
223
Last Page
234
Recommended Citation
แก้วปลั่ง, อรพินท์
(2001)
"วัสดุฉาบฐานชนิดนุ่ม และวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
3, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss3/8