Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในคลินิกทันตกรรมของผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงาน การจัดการ นี้ได้แก่ การแยกทิ้ง การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติของผู้ช่วย และความมีเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ วัสดุและวิธีการ ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกต ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานคลินิกทันตกรรม 65 แห่ง กอง ทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร จํานวน 130 คน เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานเท่ากันอย่างละ 65 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น คําถามทางด้านประชากรศาสตร์ ประเภทของมูลฝอยติดเชื้อ และการ ปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ผลการศึกษา ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 91.28 และ 88.08 คะแนนไม่มีความแตกต่างที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่แยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อ ชนิดไม่มีคมได้ถูกต้อง กลุ่มศึกษาส่วนน้อยแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อมีคม การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติด เชื้อไม่เหมาะสม สรุป แม้ว่าคะแนนความเข้าใจประเภทของมูลฝอยติดเชื้อของกลุ่มศึกษาค่อนข้างสูง แต่การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ยังไม่เหมาะสม ซึ่งจะทําให้เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อของคลินิกทันตกรรม 3 ด้าน คือ การอบรมให้ความรู้ผู้ปฏิบัติ การมีอุปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสม มีการปรับปรุงแก้ไขและการนิเทศงานเพื่อให้สามารถดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.6
First Page
203
Last Page
212
Recommended Citation
หลักศิลา, กรกมล
(2001)
"การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานคลินิกทันตกรรม กองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss3/6