Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-09-01
Abstract
วัถตุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบชาที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อการยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรด แลกติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ สายพันธุ์ KPSK-2 ในหลอดทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เพื่อนํา ข้อมูลนี้ไปเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันโรคฟันผุ วัสดุและวิธีการ การทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดสอบเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อทอด ซีเวต (Todd Hewitt) ที่เดิม 4% กลูโคส และมีสารสกัดจากใบชา (4.5 กรัม ในน้ํา 100 มิลลิลิตร) ความเข้มข้น 50.0, 33.3, 25.0, 20.0, 16.7 และ 14.2% โดยปริมาตร กลุ่มควบคุมเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อทอด อีเวต ที่เติมน้ํากลั่นแทน สารสกัดจากใบชา นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียสใน 5% คาร์บอนไดออกไซด์เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนํา ไปปั่นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหาปริมาณโพลีแซคคาไรด์และปริมาณกรดแลกติก ผลการศึกษา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยอะโนวา (ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าสารสกัดจากใบชา ที่ความเข้มข้นต่างๆ สามารถยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรดแลกติกของแบคทีเรียได้อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) ยกเว้นสารสกัดจากใบชาที่ความเข้มข้น 14.2% ที่ไม่สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลกติกได้ แต่สารสกัดจากใบชาทุก ความเข้มข้นที่ได้ทําในการทดลองนี้ ยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์ของแบคทีเรียได้อย่างไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนผลต่อการสร้างกรดแลกติกพบว่ามีความแตกต่างกันในทุกความเข้มข้นโดยเมื่อความเข้มข้นของสารสกัด เพิ่มขึ้น การสร้างกรดแลกติกจะค่อย ๆ ลดลง สรุป สารสกัดจากใบชาทีความเข้มข้นที่เหมาะสมสามารถยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรดแลกติกของแบคทีเรีย จากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.5
First Page
195
Last Page
202
Recommended Citation
คุ้มไพโรจน์, เกรียงไกร; แซ่ก๊วย, มาลี; แผ้วชนะ, วิธวรรณ; ชื่อสุวรรณ, อโนชา; and อิงคเศรษฐ์, อมรรัตน์
(2001)
"การยับยั้งขบวนการผลิตกรดแลกติกและ โพลีแซคคาไรด์ของเชื้อสเตร็พโตคอคคัสมิวแทนส์ โดยสารสกัดจากใบชา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss3/5