Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง ยึดติดกับอะลูมินัสพอร์ซเลนด้วยเรซินซีเมนต์ ภายใต้การปรับสภาพผิวต่างกัน วัสดุและวิธีการ เตรียมแผ่นกลมพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 มม. หนา 1 มม. จํานวน 300 ชิ้น แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 60 ชิ้น มีการปรับสภาพดังนี้ คือ แบบ A) ไม่ปรับสภาพผิว เป็นกลุ่มควบคุม แบบ B) ขัดเรียบด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ แบบ C) กรอด้วยเข็มกรอกากเพชรชนิดหยาบ แบบ D) กัดด้วย กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นเวลา 5 นาที และแบบ E) กัดด้วยเจลเอพีเอฟ เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเตรียมแผ่นกลม อะลูมินัสพอร์ซเลน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. หนา 1.5 มม. อย่างละ 300 ชิ้น แล้วแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 50 ชิ้น มีการปรับสภาพผิว ดังนี้ คือกลุ่ม 1) แบบ A กลุ่ม 2) แบบ B กลุ่ม 3) แบบ C กลุ่ม 4) เป่าทรายด้วยผง อะลูมิเนียมออกไซด์ เป็นเวลา 20 วินาที กลุ่ม 5) แบบ D และกลุ่ม 6) แบบ E จากนั้นนําแผ่นกลมอะลูมินัส พอร์ชเลนฝังในอะครีลิกเรซินใสเพื่อเป็นที่ยึดจับ แล้วยึดกับแผ่นกลมพอร์ชเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงด้วยเรซินซีเมนต์ ภายใต้แรงกด 200 กรัม เป็นเวลา 6 นาที จากนั้น นํามาทดสอบหาค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนของการยึดติด ด้วยเครื่องทดสอบสากล ความเร็วตัดขวาง 0.2 มม. ต่อนาที นําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความ แปรปรวน และการทดสอบแบบทย์ ผลการศึกษา อะลูมินัสพอร์ซเลนเมื่อยึดติดกับพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงนั้น เมื่อปรับสภาพผิวของพอร์ซเลน ทั้ง 2 ชนิดให้มีผิวหยาบ (กลุ่ม 3-6A 3-6C 3-6D และ 3-6E) จะได้ค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน (25.2 + 3.8 ถึง 30.2 + 1.9 เมกะปาสคาล) สูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) แต่การยึดระหว่างกลุ่ม 1-2 กับ แบบ A-E และ กลุ่ม 5-6 กับแบบ A-B ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุป การปรับสภาพผิวของอะลูมินัสพอร์ซเลนและพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง มีผลสําคัญต่อความแข็งแรงพันธะ เฉือนของวัสดุทดสอบ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงน่าจะนําพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงมาใช้ซ่อมแซมชิ้นงานที่พอร์ช เลนแตกได้
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.3
First Page
175
Last Page
186
Recommended Citation
กาญจนทวีวัฒน์, กาญจนา and กู้เกียรติตระกูล, บุญเลิศ
(2001)
"ผลของการปรับสภาพผิวต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงกับอะลูมินัสพอร์ซเลน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss3/3