Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ต่อพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรม ของผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรมนอกเวลาราชการ วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่มาใช้บริการทันตกรรมในคลินิกบริการทันตกรรม พิเศษ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้ป่วยจํานวน 468 ราย แบ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 209 ราย และ กลุ่มอาชีพเอกชน 259 ราย ทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา อัตราการใช้บริการทันตกรรม รวมทั้งจํานวนค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมในปี พ.ศ. 2541 เทียบกับปี พ.ศ. 2540 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งในกลุ่มข้าราชการและกลุ่มอาชีพเอกชน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย กลุ่มข้าราชการใช้บริการทันตกรรมลดลงในประเภทการอุดฟัน (p = 0.045) และการขูดหินน้ําลาย (p = 0.023) และ ยังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ป่วยในด้านผลกระทบของการร่วมจ่ายใน สวัสดิการรักษาพยาบาลต่อการใช้บริการทันตกรรม (p < 0.001) สรุป การร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ อาจมีส่วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรม ของผู้ป่วยกลุ่มข้าราชการในคลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.2.4
First Page
111
Last Page
119
Recommended Citation
โห้สงวน, ชาญชัย; ดีประเสริฐกุล, นิรมล; สายสอน, บุษกร; and เลิศปันณะพงษ์, เบญจวรรณ
(2001)
"ผลกระทบของการร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของผู้ป่วยในคลินิกนอกเวลา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss2/4