Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2001-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการขัดแต่งวิธีต่าง ๆ ต่อกําลังตัดขวางของเฟลด์สปาติกพอร์ซเลน วัสดุและวิธีการ เตรียมแห่งพอร์ซเลนขนาด 2.0x1.5x25 มม. ตาม ASTM C 1161-90 จํานวน 135 ชิ้น เผาที่อุณหภูมิ 920 องศาเซลเซียส ภายใต้สุญญากาศ จากนั้นนํามาแบ่งด้วยการสุ่ม เป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น กลุ่มที่ 1 ไม่ได้ รับการขัดแต่ง เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เคลือบผิว ที่อุณหภูมิ 910 องศาเซลเซียส ในอากาศ กลุ่มที่ 3-9 ได้รับ การปรับสภาพผิวให้ได้มาตรฐาน ก่อนรับการปรับผิววิธีอื่น โดยการขัดด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ ในสภาวะที่เปียก กลุ่มที่ 4 กลุ่มเคลือบทับ ที่อุณหภูมิ 890 องศาเซลเซียส ในอากาศ กลุ่มที่ 5 กรอด้วยหัวกรอกากเพชร ขนาด 100 และ 40 ไมครอน ด้วยเครื่องกรอความเร็วสูง 120,000 รอบ/นาที โดยมีน้ําช่วยระบายความร้อน กลุ่มที่ 6-9 ขัด ด้วยเครื่องกรอความเร็วช้า 7,000 รอบ/นาที ในสภาวะแห้ง - กลุ่มที่ 6 ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนร่วมกับหัวขัดผ้า สักหลาดรูปแผ่นกลมฝังกากเพชรไว้ภายใน กลุ่มที่ 7 ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลมร่วมกับหัวขัดผ้า สักหลาดรูปแผ่นกลมฝังกากเพชรไว้ภายใน กลุ่มที่ 8 ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน และกลุ่มที่ 9 ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลมร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน พอร์ซเลนในแต่ละกลุ่ม ไปวัดค่ากําลังตัดขวาง (MPa) ด้วยเครื่องทดสอบทั่วไปและเปรียบเทียบโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบ ทิศทางเดียว (one way ANOVA ที่ p ≤ 0.05) และการทดสอบทูกี (Tukey HSD Test) ผลการศึกษา พอร์ซเลนที่ผ่านการทําให้พื้นผิวเรียบโดยการเคลือบทับหรือการขัดแต่ง มีค่ากําลังดัดขวางมากกว่า พอร์ซเลนที่ไม่ได้รับการขัดแต่งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่การเคลือบผิวนั้นไม่สามารถเพิ่มกําลังตัดขวางของพอร์ซเลนไสรุป การปรับแต่งผิวเฟล สปาดิกพอร์ซเลนมีอิทธิพลต่อการเพิ่มค่ากําลังตัดขวาง
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.24.2.3
First Page
101
Last Page
110
Recommended Citation
บุตรดี, วรางคณา and กาญจนทวีวัฒน์, กาญจนา
(2001)
"ผลของการขัดแต่งที่มีต่อกําลังดัดขวาง ของเฟลด์สปาติกพอร์ซเลน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 24:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.24.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol24/iss2/3