Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2000-05-01
Abstract
สมัยก่อนการซ่อมพอร์สเลนมักไม่ค่อยประสบความสําเร็จเนื่องจากมีการแตกหักของคอมโพสิตเรซินจากการเชื่อมที่ไม่ดีพอ แต่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในการซ่อมพอร์สเลนได้พัฒนาขึ้นมาก โดยการใช้ คอมโพสิตเรซินที่มีการเชื่อมกับผิวโลหะหรือพอร์สเลนด้วยการยึดทางกลศาสตร์และทางเคมีซึ่งมีความสําคัญมาก การใช้สารไซเลนเป็นตัวเชื่อมด้วยระบบซิลิโคทเตอร์ร่วมกับสารเชื่อมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทต่างๆ ทําให้การซ่อมพอร์สเลนที่แตกใช้ งานได้นานขึ้น วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อให้ทราบถึงวิธีการเตรียมพื้นผิวพอร์สเลนและโลหะในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้หัวกรอ การเป่าทราย การใช้กรดกัด การใช้สารเชื่อม ซึ่งมีผลต่อการเชื่อมติดกับคอมโพสิตเรซิน รวมทั้งชนิดของคอมโพสิตเรซิน และวิธีการซ่อมพอร์สเลนในปากเมื่อเกิดการแตกของพอร์สเลนซึ่งมีหลายระดับขึ้นกับพื้นผิวของครอบฟันบริเวณที่ซ่อมเป็นอย่างไร แต่ถ้ามีการแตกมากขึ้นต้องทําขั้นตอนในห้องปฏิบัติการทําเป็นครอบฟันคร่อมทับบนโครงโลหะและยึดด้วยซีเมนต์
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.23.2.7
First Page
129
Last Page
135
Recommended Citation
ชโลธร, สโรชา and บุญศิริ, อิศราวัลย์
(2000)
"การซ่อมพอร์สเลนในฟันปลอมชนิดติดแน่น,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 23:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.23.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol23/iss2/7